กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 35.00-35.75 รอถ้อยแถลงประธานเฟด

กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 35.00-35.75 รอถ้อยแถลงประธานเฟด

 

 

 

กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 35.00-35.75 รอถ้อยแถลงประธานเฟด

 

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาท ในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 35.00-35.75 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 35.40 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 35.26-35.60 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ สัปดาห์ เงินดอลลาร์แข็งค่าเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯแตะจุดสูงสุดรอบ 14 ปี โดยยอดค้าปลีกเดือนก.ค.ยังคงแข็งแกร่งเกินคาดแม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ขึ้นดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ แบบจำลอง GDPNow ของเฟดสาขา Atlanta คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจขยายตัวสูงถึง 5.8% ในไตรมาส 3 หลังการเปิดเผยข้อมูลที่สดใส นอกจากนี้ รายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 25-26 ก.ค.ระบุว่าเจ้าหน้าที่เฟดเลิกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 4,305 ล้านบาท และขายพันธบัตร 13,096 ล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ครบอายุ 3,712 ล้านบาท ทางด้านธนาคารรัฐของจีนขายเงินดอลลาร์เพื่อพยายามชะลอการอ่อนค่าของค่าเงินหยวนท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแรง

 

สำหรับภาพรวมในสัปดาห์นี้ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี ระบุว่า ตลาดจะติดตามถ้อยแถลงของประธานเฟดวันที่ 25 ส.ค.ในงานสัมมนาธนาคารกลางที่เฟดเป็นเจ้าภาพที่เมือง Jackson Hole เพื่อประเมินทิศทางดอกเบี้ย ถึงแม้การจ้างงานสหรัฐฯกำลังชะลอตัวลงและอาจจำกัดการปรับขึ้นค่าจ้างในระยะถัดไปขณะที่เงินออมส่วนเกินกำลังใกล้จะหมดลง แต่เราคาดว่าเฟดอาจจะยังคงใช้เวทีนี้สื่อสารว่าเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูง ซึ่งจะหนุนแรงส่งเชิงบวกต่อค่าเงินดอลลาร์ต่อไปในระยะนี้ อนึ่ง นักลงทุนจะจับตาการประเมินของผู้ดำเนินนโยบายต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวที่เร่งตัวขึ้นในช่วงนี้

 

สำหรับประเด็นในประเทศ มองว่า ตลาดจะให้ความสนใจกับการเปิดเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส ซึ่งคาดว่าจะขยายตัว 3.1% y-o-y ทางด้านรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)เมื่อวันที่ ส.ค.ระบุว่ากนง.ประเมินว่าดอกเบี้ยนโยบายเข้าใกล้ระดับที่เหมาะสม โดยกนง.เห็นพ้องว่าดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สะสมความเปราะบางต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในอนาคตได้ นอกจากนี้ เราคาดว่าการโหวตเลือกนายกฯอาจส่งผลต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายและบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์สกุลเงินบาทเช่นกัน