เคล็ดลับ “เว้นระยะห่างทางอาหาร” เพื่อคงคุณค่าทางโภชนาในยุค “เว้นระยะห่างทางสังคม”

เคล็ดลับ “เว้นระยะห่างทางอาหาร” เพื่อคงคุณค่าทางโภชนาในยุค “เว้นระยะห่างทางสังคม”

 

 

 

 
เคล็ดลับ “เว้นระยะห่างทางอาหาร”
เพื่อคงคุณค่าทางโภชนาในยุค “เว้นระยะห่างทางสังคม”
 
 
 
 
 
 
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดการตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของตนเอง โดยมีการเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นหนึ่งในแนวทางปฏิบัติที่ผู้คนยังให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือไปจากการเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกแล้ว ยังมีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่ให้ความสำคัญกับระยะห่างทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมผ่านช่องทางออนไลน์ การหลีกเลี่ยงการรวมตัวกันในสถานที่แออัด ไปจนถึงการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมสำรับกับผู้อื่นเพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนและแพร่กระจายของเชื้อโรค
 
ในปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากจึงมีแนวโน้มทำอาหารเพื่อรับประทานเองเพิ่มมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนอกบ้าน และยังเพิ่มความมั่นใจเรื่องความสะอาดของวัตถุดิบและวิธีการปรุงที่ถูกสุขลักษณะ แอลจี มีความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค ตามสโลแกน “Life’s Good” และเล็งเห็นความสำคัญของการรักษาความสดใหม่ของอาหาร ซึ่งมีผลต่อคุณค่าทางโภชนาการและสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัวในระยะยาว จึงได้รวบรวมเคล็ดลับ “การเว้นระยะห่างทางอาหาร” ซึ่งเป็นเทคนิคง่ายๆ ในการแยกการจัดเก็บวัตถุดิบในการทำอาหารออกจากกัน เพื่อคงความสดใหม่และอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการได้ยาวนานยิ่งขึ้น
 
ผักและผลไม้บางชนิด เช่น อะโวคาโด มะม่วง มะละกอ และมะเขือเทศ จะปล่อยก๊าซเอทิลีนในขณะที่กำลังสุกมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผักและผลไม้บางชนิดที่มีความรู้สึกไวต่อก๊าซเอทิลีน เช่น บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี แครอท และผักใบเขียว เกิดการเน่าเสียได้ง่ายขึ้นหากเก็บไว้ด้วยกัน ดังนั้น จึงควรแยกผักผลไม้สองกลุ่มนี้ออกจากกัน
 
พืชตระกูลแตง อย่างแตงกวา แตงล้าน มีเปลือกที่ค่อนข้างบอบบางและทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่าย ดังนั้น การจัดเก็บแตงกวาหรือแตงล้านไว้ในถุงก่อนนำไปแช่ในตู้เย็นจะช่วยป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้นได้ดียิ่งขึ้น
 
แม้ว่าผลไม้บางชนิดอาจมีรูปร่างและหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้หลายคนคิดว่าสามารถเก็บรักษาผลไม้เหล่านั้นไว้ด้วยกันได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลไม้ที่มีคุณสมบัติในการปล่อยก๊าซเอทิลีนเหมือนกัน เช่น แอปเปิ้ล ส้ม เสาวรส และสาลี่ ไม่ควรถูกนำมาเก็บไว้ด้วยกัน เพราะจะทำให้เกิดการสุกงอมไวกว่าปกติ
 
ส่วนอาหารประเภทนมหรืออาหารที่มีส่วนผสมของนม เช่น ชีส เนย และโยเกิร์ต ควรเก็บแยกกับอาหารชนิดที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม สะระแหน่ มะกรูด โหระพา ขิง ข่า ตะไคร้ หรือเครื่องเทศต่างๆ เพราะอาหารที่มีส่วนผสมของนมจะสามารถดูดซึมกลิ่นจากวัตถุดิบที่มีกลิ่นแรงเหล่านี้ และจะทำให้อาหารเสียรสชาติได้
 
นอกจากการแยกอาหารบางประเภทออกจากกัน แอลจียังนำเสนอตัวช่วยเพิ่มเติมในการเก็บรักษาอาหารให้สดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ตู้เย็นแอลจี InstaView Door-in-Door™ ที่ขับเคลื่อนด้วยคอมเพรสเซอร์แนวนอนระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter Linear Compressor) เก็บอาหารให้สดนานยิ่งขึ้น ควบคุมอุณหภูมิให้คงที่และทำความเย็นได้อย่างสม่ำเสมอ ผสานการทำงานกับเทคโนโลยี Door Cooling+TM ที่ช่วยสร้างความเย็นได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง พร้อมระบบฟอกอากาศ Hygiene Fresh+™ ที่สามารถขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์และแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาและถนอมอาหารให้สดใหม่และสะอาดได้ยาวนานขึ้น นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถเห็นสิ่งของภายในตู้โดยไม่ต้องเปิด เพียงการเคาะสองครั้ง ทำให้ตู้เย็นไม่สูญเสียความเย็นภายใน ช่วยประหยัดพลังงานและความสดของอาหารได้นานยิ่งขึ้น