ดีแทคลูป: อนาคตต้องการคุณ ดร. อุกฤษ ศัลยพงษ์ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ช่องทางการขายและบริหารการบริหารผลการปฏิบัติงานของดีแทค

ดีแทคลูป: อนาคตต้องการคุณ ดร. อุกฤษ ศัลยพงษ์ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ช่องทางการขายและบริหารการบริหารผลการปฏิบัติงานของดีแทค

 

 

 

 

ดีแทคลูป: อนาคตต้องการคุณ
ดร. อุกฤษ ศัลยพงษ์ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ช่องทางการขายและบริหารการบริหารผลการปฏิบัติงานของดีแทค

อะไรจะเกิดขึ้นถ้าปัญญาประดิษฐ์สามารถทำให้ธุรกิจสร้างสรรค์มากขึ้น?


ดีแทคเปิดตัว AI Lab ผนึกกำลังสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ไม่เพียงแต่นำเสนอประสบการณ์ไร้รอยต่อแก่ลูกค้าทั้งแบบออนไลน์และในศูนย์บริการ แต่ยังช่วยให้พนักงานสามารถคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น

ดีแทคให้ความสนใจกับ AI เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และการเพิ่มขึ้นของข้อมูลที่มีอยู่ โดยลูกค้าดีแทคสร้างชุดข้อมูลจำนวน 1 พันล้านชุดต่อวัน ซึ่ง 75% ของลูกค้าเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟน

ในปัจจุบันดีแทคใช้แชทบอทในการตอบคำถามของลูกค้า โดย 20% ผ่านทาง Facebook และ 30% ผ่านทาง SMS ซึ่งมีอัตราความถูกต้องของการตอบสนองสูงถึง 80%

ดีแทคใช้ AI สำหรับการแนะนำในแอปพลิเคชั่น ซึ่งสามารถเพิ่มยอดขายในปัจจุบันได้ถึง 30%

นอกเหนือจากระบบอัตโนมัติแล้ว AI ยังสามารถให้บริการลูกค้าได้ตามความต้องการในแบบเรียลไทม์โดยเฉพาะตามความต้องการของลูกค้าไม่เพียงแต่ในแอปพลิเคชั่นเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้ในศูนย์บริการอีกด้วย ดีแทคจึงออกแบบศูนย์บริการใหม่เพื่อให้ประสบการณ์ดิจิทัลแก่ลูกค้า พนักงานขายใช้อุปกรณ์ไร้สาย อีกทั้งยังมีระบบจอสัมผัสในถ่ายทอดข้อมูลโต้ตอบกับลูกค้าแบบเรียลไทม์

Accenture กล่าวว่า “65% ของลูกค้า มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกหรือร้านค้าออนไลน์ที่มีประวัติการซื้อของพวกเขา" ซึ่งเทคโนโลยี AI จะมีส่วนช่วยในการบันทึกข้อมูลเหล่านี้ เช่น การจดจำใบหน้า

ดีแทค และ SIIT จะได้รับประโยชน์ร่วมกันจาก AI Lab โดยดีแทคจะมีนักวิจัยชั้นนำที่จะเป็นโค้ชในการพัฒนาความสามารถในการพัฒนาอัลกอริทึมและ AI เพื่อจัดการกับความท้าทายทางธุรกิจ

ผู้เชี่ยวชาญจาก SIIT และนักศึกษาจะได้ทำงานกับกรณีศึกษาจริงทางธุรกิจเพื่อฝึกทักษะและใช้ AI ในระดับต่อไป

ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการจัดหาแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมใน AI เพื่อสนับสนุนวาระการประชุมระดับชาติ

ศ. ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง อาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อะไรจะเกิดขึ้นถ้าคุณสามารถสอนเครื่องจักรให้คิดเหมือนคุณได้?
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้เครื่องจักรแห่งโลกอนาคตจะต้องมีความรู้ความชำนาญไม่ใช่แค่เพียงด้านการเขียนโค้ดเท่านั้น แต่ยังต้องการค้นหาวิธีใหม่ในการแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ค้นหาวิธีที่เราจะสามารถสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการด้านดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทย

ในอนาคตอันใกล้ AI จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ การประมวลผลภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ (NLP) จะเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร โดย NLP ประกอบด้วย (1) ประมวลผลข้อความขาเข้า (2) เข้าใจพวกเขา และ (3) การตอบกลับตามบริบทอย่างเป็นธรรมชาติ

แอปพลิเคชันที่คนในปัจจุบันให้ความสนใจเป็นอย่างมากคือ แชทบอท ซึ่งแชทบอทที่ชาญฉลาดอย่างแท้จริงควรมีหน่วยความจำและความสามารถในการเชื่อมต่อเรื่องราว ทราบบริบทแวดล้อม รวมถึงสถานการณ์โลก

อีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่น่าสนใจคือ ความสามารถของ AI ในการกรองข้อมูลจำนวนมหาศาลได้เร็วกว่ามนุษย์ ในแต่ละปีมีบทความทางวิชาการ 2.5 ล้านเล่มถูกตีพิมพ์ทั่วโลก ซึ่งการสรุปผลงานวิจัยเป็นงานที่ยากและกระบวนการอัตโนมัติจะช่วยให้เราสามารถค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างบทความและเชื่อมโยงกันได้

ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมหาศาล AI ยังสามารถช่วยตรวจสอบข่าวปลอมหรือสนับสนุนการป้องกันภัยพิบัติได้

ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราคือการถ่ายทอดความรู้และทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านวิธีและกระบวนการที่จะทำให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้ในตนเอง มีแรงจูงใจในตนเอง และพฤติกรรมที่จะนำความรู้นั้นไปใช้อย่างเหมาะสม แทนการประมวลผลเพียงแค่ข้อเท็จจริงเท่านั้น

dtac SIIT AI Lab ช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงนักศึกษากับข้อมูลในโลกแห่งความจริง เพื่อส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลรุ่นใหม่เข้าใจเหตุการณ์ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง โดย AI Lab จะเป็นสถานที่สำหรับทุกคนที่ไม่เพียงแต่ผู้สอนจะสามารถสอนผู้เรียนได้เท่านั้น แต่นักศึกษายังสามารถเรียนรู้จากกันได้อีกด้วย
คุณนาฎฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล ดีแทค

อะไรจะเกิดขึ้นถ้าที่ทำงานของคุณสามารถช่วยคุณแข่งขันกับ AI ได้?
ในขณะที่ Machine Learning ได้เปลี่ยนแปลงการทำงานของเราไปอย่างสิ้นเชิง การพัฒนาบุคลากรโดยดึงศักยภาพจากจุดแข็งของพนักงาน จะสามารถส่งเสริมให้เกิดความสามารถแบบดิจิทัลในองค์กรขนาดใหญ่ได้

จากข้อมูลของ McKinsey บริษัทในปัจจุบันกว่า 50% ได้ใช้เทคโนโลยี AI หรือกำลังทดลองใช้ ซึ่ง  AI  จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน โดย AI จะเข้ามาแทนที่งานบางอย่าง และสร้างงานบางอย่างด้วย ดังนั้นไม่ว่าคุณจะทำงานอะไรหรืออยู่ที่ไหนก็ตาม สิ่งที่ได้รับการประกันได้ในปีต่อๆไปคืออัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

ที่ดีแทคเรามีความท้าทายถึงสองอย่างที่เกิดขึ้นจาก AI คือการเปลี่ยนผ่านธุรกิจของเรา และเปลี่ยนคนของเรา การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของพนักงานกว่า 4,000 คนไม่ใช่เรื่องง่ายและใช้ระยะเวลานาน แตกต่างจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอื่นๆในประเทศไทยที่มีพนักงานเพียงหลักสิบหรือหลักร้อยคน

ขั้นตอนแรกสำหรับดีแทคคือ การแสดงให้เห็นว่าจริงๆแล้วการเปลี่ยนแปลงแบบดิจิทัลมาจากผู้คน ปัญหาอะไรที่ลูกค้าหรือตัวคุณเองกำลังเผชิญอยู่ คุณสามารถสร้างสมมุติฐานได้หรือไม่ คุณสามารถสร้างต้นแบบด้วยปากกาและกระดาษและทดสอบกับคนจริงหรือไม่ คุณสามารถทำงานกับคนนอกสาขาของคุณเพื่อพัฒนาโครงการของคุณได้หรือไม่ คุณมีความเป็นผู้ประกอบการเพียงพอที่จะขับเคลื่อนการริเริ่มเช่นนี้หรือไม่ คุณจะยอมรับกับความล้มเหลวได้หรือไม่

ในการสนับสนุนพฤติกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นในองค์กร ดีแทคได้เปลี่ยนวิธีการประเมินผลงานและให้ผลตอบแทนพนักงาน โดยมุ่งเน้นสิ่งที่พนักงานต้องการ ดีแทคให้พนักงานได้เรียนรู้สิ่งที่พวกเขาสนใจ ลดการประเมินผลงานประจำปีที่ขึ้นอยู่กับ KPIs รวมถึงช่วยให้พนักงานพัฒนาศักยภาพจากจุดแข็งของตนเอง

การเปลี่ยนแปลงการทำงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ AI คือองค์กรต่างๆจะยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น องค์กรยังสามารถยึดพนักงานเป็นศูนย์กลางได้อีกด้วย กล่าวคือเป็นการกระจายอำนาจในองค์กร ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเจ้านายและลูกน้อง ให้พนักงานเป็นเจ้านายตนเอง

ในสถานที่ทำงาน คนมีส่วนร่วมกับคน ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องขนาดใหญ่ พวกเขาไม่สามารถถูกแทนที่ได้อย่างง่ายดาย พวกเขาสามารถแข่งขันกับ AI ด้วยความคิดสร้างสรรค์และความเป็นมนุษย์ของพวกเขา

ในอนาคตเราจำเป็นต้องมีนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้เครื่องจักรหลายอย่างเพื่อสนับสนุนธุรกิจของเรา แต่การสร้างองค์กรที่พร้อมสำหรับ AI ไม่ใช่แค่การจ้างนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นไปที่ลูกค้า พนักงาน และโครงการต่างๆ


ดร.วินน์ วรวุฒิคุณชัย Group Data Scientist เทเลนอร์ กรุ๊ป
อะไรจะเกิดขึ้นถ้าการใช้ความสามารถของ Machine learning มาช่วยเหลือสังคมได้?

ดร.วินน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล และเป็นผู้ทำหน้าที่อยู่เบื้องหลัง AI ล้ำๆ ผู้พัฒนาแชทบอท ชื่อ บอทน้อย ที่คนไทยรู้จักและใช้มากที่สุด ดร.วินน์ มาแชร์ขั้นตอนการสร้างปัญญาประดิษฐ์ ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือสังคม

สิ่งที่กำลังเป็นที่ต้องการมากที่สุดในขณะนี้ คือการนำผู้เชี่ยวชาญชั้นนำที่มีความสามารถมาช่วยแก้ปัญหาสังคม องค์การสหประชาชาติต้องการครูมากขึ้นทั่วโลก 69 ล้านคนในปี 2573 และองค์การอนามัยโลกก็ต้องการบุคลากรทางด้านการแพทย์และสุขอนามัยอีกมากกว่า 12.9 ล้านคน ดังนั้นเราจึงต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อมาปิดช่องว่างดังกล่าว

แม้ว่าจะมีคำถามมากมาย เกี่ยวกับจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่มีจำนวนจำกัด แต่ก็ยังมีคำถามที่เหมือนกันมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ดีแทคมีตัวอย่างคำถามถึง 2,000,000 คำถามผ่านคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งพบว่าเราสามารถตอบคำถามได้เพียง 5,000 คำตอบ ความท้าทายคือ ไม่ใช่การตอบ 5,000 คำตอบ แต่เป็นความยากของการจับคู่ 200,000 คำถามให้เข้ากับ 5,000 คำตอบ ที่เราเรียกว่า การรวบรวมทั้งหมดมาไว้ด้วยกัน ปัญญาประดิษฐ์ต้องทำความเข้าใจในการเชื่อมโยง คำถามที่มีจำนวนมากมายมหาศาลมาตอบคำถามที่มีอยู่จำกัด สิ่งที่ปัญญาประดิษฐ์ต้องทำความเข้าใจคือ สองคำถามที่ดูต่างกันแต่ความหมายจะเหมือนกัน

จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมปัญญาประดิษฐ์จึงสำคัญและเป็นความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับประชากร ยกตัวอย่างเช่น แรงงานข้ามชาติ ผู้สูงอายุ หรือเด็ก ประชากรเหล่านี้ มีทักษะความรู้ ความเข้าใจน้อย และพูดภาษาสแลงหรือหรือสำนวนที่ใช้พูดเข้าใจกันเฉพาะกลุ่ม การสะกดคำผิด หรือมีทักษะความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไม่ดีพอ ทำให้เกิดความยากลำบากในการสร้างองค์ความรู้ ที่ผู้เชี่ยวชาญหรือแม้แต่ปัญญาประดิษฐ์จะสามารถสื่อสารกับคนเหล่านี้ได้

แชทบอทสามารถตอบคำถามง่ายๆได้อย่างรวดเร็ว มากกว่านั้นแชทบอทยังไม่มีอคติในการคุยกับมนุษย์ และยังแสดงความรู้สึกเข้าใจเห็นใจได้มากกว่ามนุษย์ นั่นเป็นเหตุผลของการสร้าง บอทน้อย ที่มีผู้ติดตาม 1.2 ล้าน และ 10 คนที่เข้ามาใช้งานต่อวัน บอทน้อยพูดได้หลากหลายภาษา เข้าใจคำสแลง และคำพูดประชดประชัน หรือถากถาง มีบริบท ความจำ ความเข้าอกเข้าใจ ที่สร้างให้บอทน้อยเป็นแชทบอทที่เก่งกาจ

ดังนั้นบอทจึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังพอที่จะช่วยเหลือสังคม นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่เราเปิดตัว โปลิศน้อย ซึ่งเป็นความร่วมมือในโครงการ ดีแทคพลิกไทย จากผลสำรวจ 85% ของเยาวชนในไทยถูกภัยคุกคาม โปลิศน้อยสามารถช่วยเหยื่อผู้หญิง และเด็กที่ถูกคุกคาม โดยให้คำแนะนำอย่างเป็นมิตร โดยที่เหยื่อไม่ต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ และไม่ต้องไปเจอกับการถูกสอบสวนจากผู้ที่ไม่ได้รับการอบรมในเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น

ปัญญาประดิษฐ์เป็นโอกาสในอนาคต ไม่ใช่ภัยคุกคามที่น่ากลัว ปัญญาประดิษฐ์ช่วยมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญ ช่วยเหลือผู้คนและสังคม ปัจจุบันมีแพทย์ 0.47 คนต่อประชากรไทย 1,000 คน ในการเรียนมีครูเพียง 1 คนสอนเด็กในห้องถึง 50 คน เราไม่ต้องการมาแทนผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ แต่เราต้องการความช่วยเหลือ AI Lab แห่งใหม่นี้ เป็นความหวังของดีแทคและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะช่วยสร้างคนรุ่นใหม่ ทางด้าน data scientists และ ผู้เชี่ยวชาญ Machine learning มาร่วมกันสร้าง AI ที่เราสามารถช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทย