เมืองไทยประกันภัยรับมอบใบประกาศรับรองจากคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยฯต่อต้านทุจริต (CAC)

เมืองไทยประกันภัยรับมอบใบประกาศรับรองจากคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยฯต่อต้านทุจริต (CAC)

 

 

 

 

เมืองไทยประกันภัยรับมอบใบประกาศรับรองจากคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยฯต่อต้านทุจริต (CAC)

 

วันนี้(11 ต.ค.2561) นายยุทธนา สุวรรณประดิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนรับมอบใบประกาศรับรองจากคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption (CAC) โดยมี ดร.กอปร กฤตยากีรณ รองประธานกรรมการ CAC ให้เกียตริเป็นผู้มอบ ณ ห้องนภาลัย บอลลรูม โรงแรมดุสิตธานี


โครงการ CAC ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งโดยรัฐบาล และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจในภาคเอกชนกำหนดนโยบายต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเมืองไทยประกันภัยได้ร่วมลงนามสนับสนุนผ่านสภาหอการค้าไทยและสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย( IOD) โดยมุ่งหวังให้คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ได้ตระหนักและร่วมกันต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบภายในองค์กร และผ่านการรับรองจากโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) ติดตามข่าวสารเมืองไทยประกันภัยได้ที่ www.muangthaiinsurance.com


ที่มาของโครงการ CAC

โครงการการสร้างแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต หรือเรียกสั้นๆ ว่า CAC ซึ่งย่อมาจากคำว่า Collective Action Coalition Against Corruption เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งโดยรัฐบาล และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งแต่ปี 2553 และดำเนินการจัดตั้งโดยความร่วมมือของ 8 องค์กรชั้นนำในภาคเอกชนไทย ได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD), สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, หอการค้าต่างประเทศ, สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย, สมาคมธนาคารไทย, สภาธุรกิจตลาดทุนไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

โดยเป้าหมายหลักของ CAC คือการสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจในภาคเอกชนกำหนดนโยบายต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม และนำกลไกป้องกันการจ่ายหรือรับสินบนมาใช้งาน เพื่อสร้างและขยายเครือข่ายของธุรกิจสะอาดให้กว้างขวางและแข็งแกร่ง และนิติบุคคลภาคเอกชนทุกแห่งสามารถเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์กับโครงการ CAC ได้ด้วยความสมัครใจ เพื่อแสดงจุดยืนของนิติบุคคลนั้นว่า จะร่วมกันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้การประกาศเจตนารมณ์ดังกล่าว ยังไม่ถือว่า CAC ให้การรับรองการเป็นสมาชิกของนิติบุคคลนั้น เนื่องจากผู้ประกาศเจตนารมณ์จะต้องทำแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น (Self-Evaluation Tool for Countering Bribery) จำนวน 71 ข้อ เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาภายในระยะเวลา 18 เดือน นับแต่วันที่นิติบุคคลนั้นได้ลงนามประกาศเจตนารมณ์ อันเป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญา ที่ระบุไว้ในคำประกาศเจตนารมณ์

บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด(มหาชน) ได้ร่วมลงนามสนับสนุนผ่านสภาหอการค้าไทยและสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยในฐานะสมาชิก เมื่อปี พ.ศ. 2555 บริษัทจึงได้จัดทำนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น พ.ศ. 2558 ขึ้น โดยมุ่งหวังให้คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ได้ตระหนักและร่วมกันต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบภายในองค์กร และผ่านการรับรองจากโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558 ซึ่งใบรับรองฯจะมีอายุ 3 ปี ซึ่งใบรับรองดังกล่าวจะครบกำหนด 3 ปี ในปี2561 บริษัทต้องขอยื่นต่ออายุใบรับรอง (Recertification) โดยมีการนำปรับปรุงนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น และปรับปรุงระบบควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในด้านคอร์รัปชั่น จนกระทั่งบริษัท ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 โดยมีพิธีการรับใบรับรองขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2561 ณ ห้องนภาลัย บอลรูม โรงแรมดุสิตธานี

การดำเนินงานของบริษัทเกี่ยวกับ CAC ปี 2561

1. ประกาศใช้นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น พ.ศ. 2561 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 โดยปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎหมาย ปปช.

2 . บริษัท ได้สื่อสารนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นในระบบ Intranet และระบบ Internet ของบริษัท

3.จัดอบรมนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น พ.ศ. 2561 ให้แก่พนักงานใหม่ โดยบรรจุไว้ในหลักสูตรปฐมนิเทศ และมีการทดสอบความรู้ความเข้าใจโดยให้พนักงานทำแบบทดสอบผ่านระบบ E – Learing

4. มีการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นประจำทุกปี โดยมีการรายงานผลการประเมินให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณารับทราบและดำเนินการตามความเหมาะสม