Rethink “คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข” วิชา กุลกอบเกียรติ สูตรความสำเร็จ “มีวินัย ติดดิน”

Rethink “คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข” วิชา กุลกอบเกียรติ สูตรความสำเร็จ “มีวินัย ติดดิน”

 

 

 

http://www.changeintomag.com
นิตยสาร เชนจ์ อินทู CHANGE into Mag
 
CHANGE Life needs help
เรื่อง : สุทธิคุณ กองทอง ภาพ : ชวกรณ์ สะอาดเอี่ยม
 
 
 
 
 
Rethink “คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข”
 
วิชา กุลกอบเกียรติ สูตรความสำเร็จ “มีวินัย ติดดิน”
 
 
 
 
“ธนชาต” เปลี่ยนสังคมด้วยแคมเปญ ‘Rethink : คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข’ พร้อมย้ำเตือนคนรุ่นใหม่ “อย่าลืมว่าเป็นคนเก่งแล้วจะต้องเป็นคนดี ที่สำคัญต้องมีจรรยาบรรณ มีศีลธรรม และเป็นคนติดดินให้ได้ด้วย”
 
 
ด้วยหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มธนชาต อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ในเรื่องซีเอสอาร์ที่ว่า เติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณธรรม และมีส่วนร่วมในการสนับสนุนหรือช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นและสังคมอย่างเข้าใจตั้งใจจริงและต่อเนื่อง “วิชา กุลกอบเกียรติ” ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงานสื่อสารและบริหารแบรนด์ ธนาคาร ธนชาต จำกัด(มหาชน) เล่าถึงโครงการดีๆเพื่อกระตุ้นสังคมไทยให้มีสติในการวางแผนทางการเงินกับแคมเปญ ‘Rethink : คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข’
 
 
 
//คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข
 
จากปัญหาทางการเงินในสังคมไทย มีไม่น้อยที่ไม่ได้มีการวางแผนทางการเงิน จนทำให้เกิดเป็นหนี้สินมากมาย ดังนั้น ธนาคารธนชาต ในฐานะสถาบันการเงินที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจเพื่อมุ่งแสวงหาผลกำไรแต่เพียงอย่างเดียว ธนชาตไม่สนับสนุนให้คนเป็นหนี้ แต่ธนชาตต้องการให้ประชาชนได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของการใช้เงิน และต้องการให้ความรู้กับลูกค้าและประชาชนทั่วไป และขอมีส่วนร่วมในการกระตุ้นให้คนไทยได้ ‘คิดใหม่’ (Rethink) ในเรื่องการใช้เงิน จึงเป็นที่มาของแคมเปญ ‘Rethink : คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข’ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นดีๆ ที่ธนาคารทำขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ผู้คนในสังคม โดยเฉพาะในวัยเริ่มทำงานที่อาจจะอยู่ในข่ายสุ่มเสี่ยงต่อการใช้เงินโดยขาดความยั้งคิด ได้ฉุกคิดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้เงินให้พอดีกับรายได้ของตัวเอง
 
 
คุณวิชา เล่าว่า แคมเปญ ‘Rethink : คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข’ จะใช้ช่องทาง Social Media คือ Facebook.com/Thanachartbank, Youtube และเว็บไซต์ชื่อดังอื่นๆ ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคนในวัยทำงานที่เสพข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางดังกล่าว
แคมเปญนี้จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1. Knowing: ปลุกความเข้าใจเรื่องการใช้เงิน ในช่วงนี้จะนำเสนอวิธีคิดในชีวิตประจำวัน เพื่อกระตุกต่อมความคิดของผู้คน ให้หันกลับมาถามคำถามกับตัวเองทุกครั้งก่อนใช้เงินว่า ‘นั่นเป็นสิ่งจำเป็น หรือแค่อยากได้’ และ 2. Doing : ลงมือทำ ช่วงนี้จะสอดแทรกความรู้และตัวอย่างวิธีการจัดการกับรายได้และรายจ่ายให้เหมาะสม และทำให้ตัวเองมีความสุขจากการใช้เงินอย่างพอดี เพื่อกระตุ้นให้คนได้เลือกนำไปปรับใช้กับพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองให้เกิดเป็นสุขนิสัยประจำตัว
แคมเปญเปิดตัวด้วย Viral Clip ความยาว 2 นาทีที่มีชื่อว่า ‘ลูกมหาเศรษฐี’ ซึ่งเป็นเรื่องราวของครอบครัวพ่อลูกที่ฐานะแสนจะธรรมดาแต่กลับอบอวลไปด้วยความสุข เพราะพ่อปลูกฝังวิธีคิดและมุมมองในการดำเนินชีวิตที่ทุกสิ่งไม่จำเป็นต้องใช้เงินซื้อเสมอไป พ่อเลี้ยงดูลูกๆ ด้วยความรัก ปลูกฝังให้ลูกคิดบวกกับสิ่งรอบกาย สอนให้ไม่ฟุ่มเฟือย อดออม รอบคอบในการใช้จ่าย ใช้ของอย่างคุ้มค่า โดยที่เด็กๆ ไม่ได้รู้สึกว่าครอบครัวของตัวเองด้อยกว่าคนอื่น
 
 
 
//ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”
 
แคมเปญทั้งสองเฟสยังจะมีการตอกย้ำ ด้วยกิจกรรมสร้ างความผูกพันกับกลุ่มเป้าหมายผ่าน
facebook.com/Thanachartbank เพื่อให้ทกุ คนได้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ อีกด้วย
ธนาคารธนชาต หวังว่าแคมเปญนี้จะเข้าถึงและกระตุ้นเตือนสังคมได้ด้วยการเริ่มสร้างนิสัย Rethink
กับตัวเอง ซึ่งทำได้ง่ายๆ แค่เปลี่ยนวิธีคิด ถามตัวเองทุกครั้งที่จะใช้เงินว่า ‘สิ่งนั้น มันจำเป็น หรือแค่อยากได้’ เพียงเท่านี้ทุกคนก็เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนสู่สังคมใหม่ สังคม Rethink ‘คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็น
ความสุข’ ได้แล้ว
 
 
 
“ที่ผ่านมาคนเรามักจะออมหลังจากที่เหลือจากการใช้จ่ายแล้ว ทำให้บางเดือนไม่มีเหลือออม ซึ่งการมีวินัยทางการเงิน เราจะต้องรู้ว่าในแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน แล้วเราจะต้องรู้ว่าเราจะมีเงินออมเดือนละเท่าไหร่ เราก็จะต้องพยายามออมให้ได้เป็นประจำ แล้วเงินที่เหลือเราถึงนำมาใช้จ่ายเพื่อความสุข จริงๆแล้วมันก็เป็นไปตามปรัชญาแบบเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เราจะต้องใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล และใช้จ่ายอย่างพอเพียงก็คือ ใช้จ่ายแบบพอตัว คือตั้งมีภูมิคุ้มกัน ดังนั้น การที่คนเราจะมีภูมิคุ้มกันได้จะต้องสร้างเงินออม เพราะเราไม่รู้อนาคตของเราจะเป็นอย่างไร หรือเราอาจมีความจำเป็นต้องมีการใช้เงินในอนาคต และการออมเงินได้ก็จะทำให้ลดปัญหาหนี้สินครัวเรือนของประเทศได้ แต่ถ้าหากไม่มีการแก้ปัญหาการออม แล้วปล่อยให้มีการใช้จ่ายไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นเหมือนระเบิดเวลา เพราะทุกวันนี้การใช้จ่ายก็สะดวกทำให้เกิดการใช้จ่ายเกินความจำเป็น แม้สิ่งที่ทางธนชาตทำจะเป็นส่วนเล็กๆในการช่วยเหลือสังคมไทยให้ดีขึ้น แต่เป็นสิ่งที่ธนชาตและพนักงานทุกคนภาคภูมิใจ”
 
 
 
นอกจากนี้ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ความเป็นไทยอย่างต่อเนื่อง จัดโครงการ “ธนชาต ริเริ่ม...เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย” และ “โครงการสะพานบุญ” โครงการของธนาคารธนชาต จัดขึ้นเพื่อต้องการเป็นสะพานเชื่อมโยง “ผู้ให้” คือ ผู้มีจิตศรัทธาที่ต้องการบริจาคเงินให้กับองค์กรสาธารณกุศล และ “ผู้รับ” คือ องค์กรสาธารณกุศลที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในกลุ่มต่างๆ โดยโครงการสะพานบุญ จะเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธา ทั้งลูกค้าของธนาคารธนชาต และประชาชนทั่วไป สามารถร่วมบริจาคเงินให้แก่องค์กรสาธารณกุศลที่อยู่ภายใต้โครงการสะพานบุญ ผ่านช่องทางธุรกรรมการเงินของทางธนาคารธนชาตได้ทุกช่องทาง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ ช่องทางดังกล่าวได้แก่ ตู้เอทีเอ็ม เคาน์เตอร์ธนาคาร เครื่องฝากเงินอัตโนมัติ และการทำรายการผ่านอินเตอร์เน็ต
 
 
 
//สูตรความสำเร็จ “ต้องมีวินัย ติดดิน”
ย้อนกลับไปคุณวิชาเข้าร่วมงานกับ บมจ.เงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติในฐานะกรรมการ และทำงานในบริษัทหลักทรัพย์ธนชาติ เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และเป็นผู้อำนวยการ อาวุโส สายงานเลขาธิการองค์กร บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) กระทั่งเข้ามาบริหารแบรนด์ธนาคารธนชาต เป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทายสำหรับเขาไม่น้อยในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธนชาตจนประสบความสำเร็จ
 
 
 
“ความสำเร็จของผมในวันนี้ สิ่งที่ผมอยากจะฝากให้กับน้องๆเยาวชนรุ่นใหม่ที่จะก้าวเข้ามาทำงานนั้น จะต้องมีวินัยทางการเงิน ต้องมีความรู้ ที่สำคัญที่สุดจะต้องชอบในงานที่ทำด้วย เพราะการสร้างวินัยทางการเงินถ้าน้องๆทำได้ ไม่ว่าจะไปทำงานอะไรก็ตามการมีวินัยทางการเงินก็จะเป็นนักบริหารการเงินที่ดีได้ สิ่งสำคัญจะต้องเป็นคนดีของสังคมด้วย ปัจจุบันคนเก่งอาจจะมีเยอะ เพราะทุกสถาบันก็สร้างคนเก่งขึ้นมา แต่อย่าลืมว่าเป็นคนเก่งแล้วจะต้องเป็นคนดี ที่สำคัญจะต้องมีจรรยาบรรณ มีศีลธรรม และเป็นคนติดดินให้ได้ด้วย อย่างน้อยเราจะเป็นเหมือนส่วนหนึ่งที่จะคอยเข้าไปช่วยเหลือสังคมบางจุดที่ยังด้อยอยู่ได้”
 
 
 
//
 
ติดตามเรื่องราวต่างๆ รวมถึงแง่มุม และแนวคิดดีๆ ของแคมเปญ Rethink ที่ทกุ คนสามารถเอาไปปรับ
ใช้กับชีวิตประจำวันได้ทาง www.facebook.com/thanachartbank หรือ www.thanachartcsr.com/rethink