ไหวัหลีกเคราะห์ ขอพรพระองค์ใหญ่...ใจดีๆ ที่วัดพระเจ้าตนหลวง...เฮือนล่ะปูนเจ้า

ไหวัหลีกเคราะห์ ขอพรพระองค์ใหญ่...ใจดีๆ ที่วัดพระเจ้าตนหลวง...เฮือนล่ะปูนเจ้า

 

 

 

@CHANGE into Magazine Sutthikhun Kongthong
CHANGE in-your-life เรื่อง : ปราริชาติ ปลื้มจิตต์ตระกูล
 
 
ไหวัหลีกเคราะห์ ขอพรพระองค์ใหญ่...ใจดีๆ ที่วัดพระเจ้าตนหลวง...เฮือนล่ะปูนเจ้า
 
 
 
วัดพระเจ้าตนหลวง ตั้งอยู่ ตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน การเดินทางโดยรถยนต์ใช้ทางหลวงหมายเลข 106 แล้วเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 1010 เข้าไปประมาณ 6 กิโลเมตรก็จะถึงตัววัด เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งในตำบลศรีเตี้ย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณขนาดหน้าตักกว้าง 7.5 เมตร สูงตั้งแต่ฐานถึงเมาลี 9.5 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1909 โดยพระเถระสิริราชวโส เพื่อหลีกเคราะห์กรรม และภัยพิบัติ จึงมีฉายาว่า "พระเจ้าหลีกเคราะห์" อีกชื่อหนึ่งตามประวัติที่บันทึกไว้
 
 


 
พระครูไพโรจน์ ปัญญาวชิโร ผู้อำนวยการโรงเรียนปริยัติธรรมวัดพระเจ้าตนหลวง เล่าถึงประวัติของวัดพระเจ้าตนหลวงให้เราฟังว่า พระพุทธรูปที่ประดิษฐานภายในวิหาร สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1909 โดย พระเถระสิริราชวโสโดยพระนามของพระพุทธรูป คือ พระเจ้าหลีกเคราะห์ หรือพระเจ้าหลีเคราะห์ซึ่งเป็นภาษาเหนือ แต่ด้วยมีลักษณะใหญ่จึงมีศรัทธาชาวบ้าน เรียกว่าทพระเจ้าตนหลวง ตน แปลว่าองค์ หลวง แปลว่าใหญ่ ก็คือ “พระพุทธรูปที่มีลักษณะใหญ่”
 
ในเวลาต่อมาวัดแห่งนี้ถูกทิ้งร้าง จนกระทั่งมีช้างป่ามาแล้วดึงเถาวัลย์ที่ขึ้นรอบองค์พระจนทำให้พระเศียรนั้นหักลง มีการชำรุดช่วงพระอุระหรือว่าหน้าอก จากนั้นพระครูอินทรัตนคุณ เจ้าอาวาสวัดหล่ายแก้วได้มาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์สร้างขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งและต่อมาก็ได้รับการอนุเคราะห์จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยในการปิดทององค์พระเป็นที่มาประวัติพระเจ้าตนหลวง. โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านที่เดินทางมากราบสักการะขอพรพระเจ้าตนหลวงนั้น เป็นเรื่องของการหลีกเคราะห์ ส่วนเรื่องอภินิหารต่างๆ ไม่มี เป็นเรื่องของการหลีกเคราะห์คนที่ไม่สบายใจหรือประสบเหตุ เคราะห์กรรมอะไรต่างๆ ถูกกล่าวหาหรือมีคดีความในลักษณะที่ถูกกล่าวหาไม่ใช่เป็นผู้กระทำคนอื่น โดยส่วนใหญ่เท่าที่อาตมาสัมผัสได้ และมีคนมาเล่าให้ฟังแต่เรื่องเหนือธรรมชาติหรือขอโชคลาภอะไรต่างๆ ไม่ปรากฏแต่จะปรากฏสำหรับคนที่ประสบเคราะห์กรรมโดนถูกกระทำ บางครั้งก็จะเห็นมีโยมหลายท่านมานั่งทำสมาธิและบางครั้งก็มีการมาขอเลื่อนยศตำแหน่งบ้าง ซึ่งในสมัยก่อนวัดแห่งนี้ก็ถูกจัดให้เป็นที่สถานที่ปฏิบัติธรรม ครั้งหลวงปู่สุนทรธรรมานุรักษ์ เจ้าอาวาสยังอยู่ แต่ปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนสอนปริยัติธรรมให้แก่สามเณร โดยขณะนี้มี 127 รูปซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสามเณรที่มีฐานะยากจนมาจากที่ต่างๆในภาคเหนือ
 

 
 
นอกจากพระพุทธรูปองค์ใหญ่ภายในพระวิหารแล้ว หากเราขับรถหรือเดินเข้ามาผ่านทางประตูวัดด้านหน้าติดถนน ภายในบริเวณวัดสิ่งแรกคือ จะมองเห็นรูปปั้นของผู้หญิงแต่งกายด้วยชุดโบราณสีขาวตั้งอยู่เด่นชัด และมีป้ายบอกไว้ว่า “อนุสาวรีย์เจ้าแม่นางแก้ว” โดย พระครูไพโรจน์ เล่าว่า เรื่องของนางแก้ว เป็นตำนานที่มีการเล่าขานว่าสถานที่แห่งนี้ คือบ้านหล่ายแก้วเพราะว่านางแก้วแต่เดิมตามประวัติที่เขียนไว้เกิดขึ้นอย่างไรไม่ทราบ แต่มีพระฤาษีดอยเป็นคนเลี้ยง พอโตขึ้นด้วยนางมีรูปโฉมที่สวยงามจึงมีกษัตริย์หนุ่มจากหลายที่หลายทิศ ต่างหมายปองจึงเกิดการแข่งขันคือ ให้วิ่งขึ้นดอยใครที่ไม่เหนื่อยใครที่ไมหิว ไม่หอบ คนนั้นจะได้นางแก้วไปครอง ปรากฏว่ามีกษัตริย์หนุ่มชื่อว่าพระยาจันทร์เป็นเจ้าเมืองเวียงหวาย เพราะวิ่งขึ้นไปด้วยเชาว์ปัญญามีการระบายความหอบของตนเองจนชนะ ต่อมาฤาษีจึงยกนางแก้วให้ครองรักกับพระยาจันทร์ แต่ด้วยก็มีกษัตริย์ที่ชื่อพระยากอกและพญาญีที่ต่างหมายปองนางแก้วและไม่สมหวังจากการแข่งขัน และพอมีศึกมาโจมตีแถวเมืองลี่ ก็ทำทีว่าจะไปช่วยแต่พระยากอกและพญาญีกลับหนี
 
และมาหลอกนางแก้วว่าพระยาจันทร์ตอนนี้เสียชีวิตแล้ว บอกให้นางหนีไปอยู่ที่เวียงหนองล่องก่อน ซึ่งเป็นที่พระยากอกแล้วพญาญีอยู่โดยให้ไปอยู่ที่นั่น แต่พอเสร็จศึกการรบพระยาจันทร์กลับมา เมื่อรู้ว่านางแก้วหนีไปกับพระยากอก พระยาจันทร์ผู้เป็นสามีนางแก้วเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจและบอกว่าตัวเองเป็นคนที่มีรูปร่างดีและมีความหล่อไม่ว่าจะมองมุมไหนก็หล่อเลยได้อีกนามว่าพระเจ้าแปดทิศคือมองมุมไหนก็ดูเท่ดูสมาร์ทแต่ภรรยากลับหนีไป และพอนางแก้วรู้ข่าวว่าพระยาจันทร์ผู้เป็นสามีกลับมา ก็ดีใจรีบเดินทางกลับมาหาแต่ไม่ได้รับการอภัยและได้รับการเหลียวแล นางแก้วจึงตรอมใจและบอกว่าทำไมมองว่านางมีชู้นางจึงระทมใจและตรอมใจจนเสียชีวิตที่นี่ โดยจากตำนานของนางแก้วส่วนใหญ่ผู้ที่เดินทางมาวัดแห่งนี้ก็จะมาขอพรในเรื่องของความรักให้สมหวังเนื่องจากนางเป็นผู้ที่บูชาความรักด้วยความซื่อสัตย์จากตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา
 

 
 
พระครูไพโรจน์ ปัญญาวชิโรบอกว่า หากพุทธศาสนิกชน หรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาวัดพระเจ้าตนหลวงนั้น ขอให้ได้ข้อคิดธรรมะกลับไป คือ "จิตตัง ทันตัง สุขาวหัง แปลว่า จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้". เพราะว่าถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นไปสถานที่ต่างๆ มุ่งเน้นไปเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์กฤษดาอภินิหารต่างๆ เพื่อให้ช่วยเหลือเพื่อโอบอุ้มเราแต่ในความเป็นจริง แต่จิตของเราซึ่งเป็นปัจเจกเป็นของใครของมันไม่ได้รับการฝึกฝนไม่ได้รับการดูแลจิต เจตสิก ก็คือสิ่งภายนอกที่มาปรุงแต่งจิตทำให้เราคิดเป็นนู่นนี่นั่นทำให้เราอยากเป็นโน่นนี่นั่นสุดท้ายที่สุดแม้แต่คุณจะมีเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สดสวยงดงามสักเพียงใดแต่หากจิตของคุณมันไม่สะอาดไม่สดสวยงดงามก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย คุณมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะคอยปกป้องคุ้มครองคุณแต่จิตของคุณฝักใฝ่ไปในทางที่ ไม่สูง ฝักใฝ่ไปในทางต่ำในทางไม่ดี ไม่เป็นกุศลก็ไม่เป็นประโยชน์ ฉะนั้นหากเดินทางมาวัด อาตมาอยากจะให้ทุกคนรู้และเข้าใจจิตของตนเองเป็นเบื้องต้นตามจิตของตัวเองเป็นเบื้องต้น และฝึกจิตของตัวเองถ้าจิตเราดีทุกอย่างก็จะราบรื่นดีหมด .สาธุ
 

 
 
วัดพระเจ้าตนหลวง เป็นเขตพุทธาสถาน ที่ถูกสร้างขึ้นมาหลายร้อยปี และ ที่นี่มีตำนาน..เรื่องราว แฝงไว้ด้วยข้อคิด แห่งธรรมะ มีวิหารสวยงามเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่มีความงดงามแปลกตาอีกรูปแบบ ที่มีนามว่า พระเจ้าตนหลวง หรือพระเจ้าหลีกเคราะห์ เป็นสิ่งแทนสัญญลักษณ์ แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ผู้คนมากราบสักการะขอพร ตามความเชื่อ ความศรัทธา ที่ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน มีพระอุโบสถที่รูปแบบการก่อสร้างลักษณะล้านนาซึ่งใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจสงฆ์(ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้า) อีกทั้งอนุสาวรีย์นางแก้ว ตำนานของผู้หญิงที่ตั้งมั่นและบูชาในความรัก สร้างไว้ให้เป็นอนุสรณ์และที่พึ่งทางใจแก่ผู้คน..มาวัดนี้สอนให้ฝึกจิตตน..ดังคำว่าจิตดีทำอะไรก็ดี..ทั้งหมดนี้อยู่ที่ใจของเราเอง.