เวียงท่ากาน โบราณสถาน ตำนานเมืองหน้าด่านหริภุญชัย หนึ่งในสถาปัตยกรรมทรงคุณค่า ณ.ล้านนา เชียงใหม่.

เวียงท่ากาน โบราณสถาน ตำนานเมืองหน้าด่านหริภุญชัย หนึ่งในสถาปัตยกรรมทรงคุณค่า ณ.ล้านนา เชียงใหม่.

 

           

 


@CHANGE into Magazine Sutthikhun Kongthong
CHANGE in-your-life เรื่อง : ปราริชาติ ปลื้มจิตต์ตระกูล
 
 
 
เวียงท่ากาน โบราณสถาน ตำนานเมืองหน้าด่านหริภุญชัย หนึ่งในสถาปัตยกรรมทรงคุณค่า ณ.ล้านนา เชียงใหม่.
 
 
 
เวียงท่ากาน...นักโบราณคดีพากันสันนิษฐานว่า เมืองนี้เริ่มสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 ในยุคสมัยพระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นหริภุญชัยสืบต่อมาจนถึงสมัยพญามังรายช่วงก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่...เวียงท่ากานเป็นเมืองโบราณที่มีคูเมืองกำแพงล้อมรอบ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่ากาน ตำบลเมืองกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม เวียงท่ากานห่างจากตัวเมิองลำพูนและตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 15 และ 30 กิโลเมตรตามลำดับ สร้างเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 16 ปรากฏหลักฐานในเอกสารทางประวัติศาสตร์ครั้งแรกในชื่อว่า "บ้านตะก๋า" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตามเสียงเพี้ยนใหม่เป็น “บ้านท่ากาน” โดยถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัย ต่อมาได้ขึ้นตรงต่อ พญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา มีฐานะเป็นเมืองเสบียงสะสมกำลังพลและอาหาร และหลังจากที่พม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ เวียงท่ากานก็อยู่ในอำนาจของพม่า หลังจากนั้นชุมชนแห่งนี้ได้ร้างไปในช่วงปี พ.ศ. 2318–2339 ซึ่งในปี พ.ศ.2339 พระเจ้ากาวิละ ได้นำชาวไทยอง เข้ามาตั้งถิ่นฐานและอาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน..ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย.
 
 
 
เวียงท่ากานตั้งอยู่ในเขตชุมชนบ้านท่ากาน มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 500 เมตร ยาว 700 เมตร ปัจจุบันกำแพงเมืองบางส่วนกลายสภาพเป็นคันดิน บางส่วนถูกปรับเป็นถนนภายในชุมชน คูเมืองและคันดินของเวียงท่ากานครอบคลุมพื้นที่ราว 60 ไร่ ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานโดย กรมศิลปากรเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ปัจจุบันอยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ โบราณสถานภายในเวียงท่ากาน ประกอบด้วยคูเมืองและคันดิน เจดีย์วัดกลางเมือง และเจดีย์วัดต้นกอก.
 
ลุงชูศักดิ์ ศิริวนกูล ประธานอาสาสมัคร(อสมส.เชียงใหม่ ) วัย66 ปี ซึ่งมีชาติพันธุ์ทั้งไทยองและไทเขิน ที่มาทำงานเป็นมัคคุเทศก์จิตอาสา ณ.ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เล่าประวัติความเป็นมาว่า เวียงท่ากานถือเป็นการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนและมีอายุ 1,000 กว่าปีล่วงมา เมืองนี้สร้างขึ้นมาในสมัยหริภุญชัย โดยพระนางจามเทวีกษัตรีย์ซึ่งครั้งมาครองเมืองหริภุญชัย ได้ทรงสร้างเมืองนี้ขึ้น ไว้เป็นเมืองหน้าด่าน หลักฐานยืนยันคือ เจดีย์ทรงประธานแปดเหลี่ยมและวัตถุโบราณต่างๆ จะเป็นพระเครื่อง พระพิมพ์ดินเผา มีพระรอด พระพระสิบสองเป็นหลักฐานในยุคหริภุญชัย ซึ่งเป็นศิลปะในยุคนั้น
 


 
 
ในเวลาต่อมาเมืองหริภุญชัย ล่มสลาย โดยพระญามังราย มาตีเมืองและได้รวบรวมจัดตั้งเมืองขึ้นใหม่ โดยไปสร้างเมืองไว้ เช่นที่เวียงกุมกาม ส่วนเมืองนี้เวียงท่ากาน มีชื่อว่า พันนาทะกานเป็นแหล่งเสบียงที่หล่อเลี้ยงส่งเสบียงให้ล้านนาเชียงใหม่ คงเป็นเมืองลูกหลวง เป็นเมืองที่เจริญในสมัยนั้น ประเทศราชต่างๆ เมืองต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของล้านนา จะส่งเครื่องบรรณาการมาเชียงใหม่ ซึ่งจะเก็บมาไว้ที่เมืองท่ากานแห่งนี้ หลักฐานยืนยันของศิลปะล้านนามีเมากมาย และที่สำคัญคือ มีโถลายครามในสมัยราชวงศ์หยวนซึ่งขุดพบกลางเมือง มีพระพุทธรูปทองคำ และสิ่งต่างๆ ที่เป็นเครื่องบรรณาการต่างๆ จากประเทศราช ปัจจุบันได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงใหม่
 
 
 
สำหรับคนมาเที่ยวเวียงท่ากาน ลุงชูศักดิ์บอกว่า ทุกท่านจะได้เที่ยวชมสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ และวิถีของคนล้านนาเชียงใหม่ ที่เรียกตัวเองว่า ชาวยอง และได้ชมโบราณสถานที่บูรณะขึ้นมาโดยไม่ได้สร้างสิ่งใดมาครอบ เป็นธรรมชาติเดิมๆ และเป็นหลักฐานยืนยันว่า 1,000 กว่าปีที่นี่มีอะไร 700 กว่าปีเชียงใหม่รุ่งเรื่องมา ก็จะเห็นว่าที่นี่ 1,000 กว่าปีกับสิ่งที่เคยรุ่งเรืองเช่นกัน เวียงท่ากานเป็นเมืองโบราณที่มีคุณค่า เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่คนอยากจะศึกษาและมาชมเพื่อเห็นสิ่งที่ดีงามในสมัยก่อนในเวียงท่ากาน และวิถีชีวิตชุมชนคนล้านนาที่เรียกตัวเองว่า คนยอง คนเขิน ยังพูดภาษายองและเขิน อาหารการกินและมีวิถีชีวิตของคนล้านนาสมัยเก่า คนเหล่านี้เป็นชาติพันธ์คนไทยที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่ง จากเขมรัฐจากพม่า จากมอญเชียงตุง หลั่งไหลเข้ามาในยุคล้านนาที่รุ่งเรืองที่สุด เรียกว่า “ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง”
 
 
 
ลุงชูศักดิ์ บอกกับเราเพิ่มเติมว่า ในเดือนมิถุนายนของทุกปีซึ่งเป็นวันพระ ชุมชนจะมีประเพณีการสรงน้ำพระ ที่วัดท่ากาน และจะนำโถจากราชวงศ์หยวนซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชุมชนหวงแหนและเก็บรักษาไว้ที่วัดออกมาร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย
 
เวียงท่ากาน โบราณสถาน ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บรรยากาศของสถานที่ ซึ่งเราเดินทางมา ค่อนข้างเงียบแต่ก็มีนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มหนึ่งจากจังหวัดนครสวรรค์มาโดยนั่งรถบริการชมในจุดต่างๆ โดยมีลุงชูศักดิ์จิตอาสา เป็นผู้บรรยายรายละเอียดและประวัติ ซึ่งภาพที่เราเห็นสถานที่แห่งนี้เหมือนเมืองเก่าในอดีต มีเจดีย์ที่ได้รับการบูรณะแต่คงสภาพไว้ มีต้นไม้ร่มรื่น และมีคันดิน หากนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ การท่องเที่ยวแบบศึกษาประวัติศาสตร์ สถานที่แห่งนี้ และหากให้เราเปรียบเทียบนั้น เหมือนท่องเที่ยวอยู่ในจังหวัดอยุธยา แต่ แท้จริงคือ ล้านนาเชียงใหม่ ด้วยอิฐเก่าทุกก้อนบอกเรื่องราวในอดีต เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ต้องร่วมกันอนุรักษ์ รักษาสืบไป ณ.ถิ่นล้านนาไทยโบราณสถาน ทรงคุณค่า..เวียงท่าเวียง.