กลุ่มบริษัทเอไอเอ รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562
กลุ่มบริษัทเอไอเอ รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562
มูลค่าธุรกิจใหม่เติบโตร้อยละ 6 และเติบโตร้อยละ 16 เมื่อไม่รวมฮ่องกง
กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 พร้อมเงินปันผลประจำปีเพิ่มร้อยละ 10
ฮ่องกง, 12 มีนาคม 2563 – กลุ่มบริษัทเอไอเอ ( “บริษัท” รหัสหลักทรัพย์: 1299)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
อัตราการเติบโตที่รายงานคิดจากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ตามรายละเอียดด้านล่าง
การเติบโตที่แข็งแกร่งของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB)
- มูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) เติบโตร้อยละ 6 เป็น 4,154 ล้านเหรียญสหรัฐ
- มูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อไม่รวมฮ่องกง
- เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (ANP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เป็น 6,585 ล้านเหรียญสหรัฐ
- อัตรากำไรของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB margin) เพิ่มขึ้น 3.0 จุด คิดเป็นร้อยละ 62.9
ผลกำไรจากการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นและผลตอบแทนที่ดี
- กำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (OPAT) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 คิดเป็นมูลค่า 5,741 ล้านเหรียญสหรัฐ
- มูลค่าธุรกิจในส่วนกำไรจากการดำเนินงาน (EV operating profit) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 คิดเป็นมูลค่า 8,685 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ผลตอบแทนจากการดำเนินงานที่เกี่ยวกับมูลค่าธุรกิจในส่วนกำไรจากการดำเนินงาน (ROEV) คิดเป็นร้อยละ 15.9
มีสถานะเงินสดหมุนเวียนที่แข็งแกร่งและมีเงินทุนที่มั่นคง
- มูลค่าหุ้นตามมูลค่าธุรกิจ (EV Equity) เท่ากับ 63.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีมูลค่าธุรกิจเท่ากับ 62.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0
- เงินกองทุนส่วนเกิน (Underlying free surplus) คิดเป็นเป็นมูลค่า 5,501 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13
- มีเงินสดหมุนเวียนส่วนเกิน (Free surplus) เพิ่มขึ้นเป็น 14.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- มีเงินโอนจากต่างประเทศสุทธิ (Net remittances) 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- อัตราส่วนของการดำรงเงินกองทุน (Solvency ratio) ตามพระราชบัญญัติบริษัทประกันชีวิตฮ่องกงของเอไอเอ
มีสัดส่วนที่แข็งแกร่งคิดเป็นร้อยละ 362 ซึ่งเป็นผลจากการเข้าซื้อกิจการบริษัท The Colonial Mutual Life Assurance Society Limited (CMLA) ในประเทศออสเตรเลีย
เงินปันผลรวมทั้งหมดเพิ่มขึ้นร้อยละ 11
- เงินปันผลประจำปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 93.30 เซนต์ฮ่องกงต่อหุ้น
- เงินปันผลรวมทั้งหมด มีมูลค่า 1.266 เหรียญฮ่องกงต่อหุ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 (ไม่รวมเงินปันผลพิเศษในปี 2561)
นายอึง เค็ง ฮุย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทเอไอเอ กล่าวว่า
“เอไอเอ มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในปี 2562 แม้ในสภาวะการดำเนินงานที่ท้าทาย ด้วยการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตัวเลขในหลายๆ ด้าน ทั้งนี้ การเติบโตร้อยละ 6 ของมูลค่าธุรกิจใหม่เป็นผลมาจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งในครึ่งปีหลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในฮ่องกง ทำให้มูลค่าธุรกิจใหม่เติบโตร้อยละ 16 เมื่อไม่รวมฮ่องกง นอกจากนี้ กำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (OPAT) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เงินกองทุนส่วนเกิน(Underlying free surplus) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 และมูลค่าหุ้นตามมูลค่าธุรกิจ (EV Equity) ขยายตัวร้อยละ 12
“ประเทศจีนยังคงมีผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมมาก โดยมีมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) เติบโตร้อยละ 27 และผมมีความยินดีเป็นอย่างมากที่กำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (OPAT) จากประเทศจีน มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเติบโตทางด้านการเงินของธุรกิจของเราที่น่าสนใจ จากการประกาศ เรื่องการเปิดตลาดประกันชีวิตแก่ชาวต่างชาติในประเทศจีนเมื่อปลายปีที่แล้ว เราได้ส่งใบสมัครเพื่อขออนุมัติการเปลี่ยนสำนักงานสาขาเซี่ยงไฮ้เป็นบริษัทสาขา ซึ่งจะทำให้เราสามารถสร้างรากฐานใหม่ที่แข็งแกร่งขึ้นในการขยายธุรกิจของเราในประเทศจีน โดยเราได้เริ่มด้วยการเปิดศูนย์ให้บริการการขายในเมืองเทียนจิน และเมืองฉือเจียจวง ในมณฑลเหอเป่ย ในช่วงปี 2562 ที่ผ่านมา
“การลดลงร้อยละ 5 ของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) ในฮ่องกง สะท้อนถึงการลดลงของยอดขายจากการลดลงของนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านั้น กลุ่มลูกค้าภายในฮ่องกงของเรา ยังคงทำให้เรามีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง ด้วยการเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) ที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 หลักสำหรับทั้งปี
“การเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) ในประเทศไทย และมาเลเซีย เป็นผลมาจากกลยุทธ์พรีเมียร์ เอเจนซี (Premier Agency) และกลยุทธ์ด้านพันธมิตรแบงก์แอสชัวรันส์ ในขณะที่ตลาดอื่นๆ มีการเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) ร้อยละ 27 จากการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของประเทศออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
“ช่องทางการขายผ่านตัวแทนของเอไอเอ มีการเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) ร้อยละ 11 เนื่องจากเราให้ความสำคัญกับการสรรหาตัวแทนที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มจำนวนตัวแทนที่มีผลงาน ในขณะที่มูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) ในช่องทางการขายผ่านพันธมิตรธุรกิจลดลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตที่แข็งแกร่งของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) ในช่องทางการขายผ่านแบงก์แอสชัวรันส์ ถูกผลกระทบจากการเติบโตลดลงของช่องทางที่ปรึกษาทางการเงินอิสระในฮ่องกงในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ หากไม่รวมฮ่องกง ช่องทางการขายผ่านตัวแทนมีมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) เติบโตร้อยละ 16 และช่องทางการขายผ่านพันธมิตรธุรกิจเติบโตร้อยละ 19 สำหรับทั้งปี
“นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารยังได้เห็นชอบในการเพิ่มเงินปันผลประจำปีที่ร้อยละ 10 ในปี 2562 เป็น 93.30 เซนต์ฮ่องกงต่อหุ้น ซึ่งเป็นผลจากนโยบายเงินปันผลที่รอบคอบ ยั่งยืน และก้าวหน้าของเอไอเอ ซึ่งทำให้มีโอกาสเติบโตในอนาคต และเกิดความยืดหยุ่นทางการเงินของกลุ่มบริษัทเอไอเอ ภายใต้เศรษฐศาสตร์มหภาค และสภาวะตลาดทุนในปัจจุบัน
“ในขณะที่ผลประโยชน์จากประกันชีวิตของเราได้ช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ลูกค้าของเรากว่าล้านรายในยามที่พวกเขาต้องการ เรายังคงมุ่งมั่นในการเปลี่ยนจากการเป็นบริษัทประกันชีวิตแบบดั้งเดิม เป็นพันธมิตรที่คอยช่วยเหลือลูกค้าของเรา ซึ่งการเติบโตของจำนวนสมาชิกของโปรแกรมสุขภาพของเราเพิ่มไปถึง 1.7 ล้านราย สะท้อนคำมั่นสัญญาของเราที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้คนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น (Healthier, Longer, Better Lives)
“ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา เอไอเอ ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานในหลากหลายวัฏจักรเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตลาดของเราบางส่วนกำลังเผชิญหน้ากับแรงต้านจากสภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ และในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นความเสี่ยงใหม่ระดับโลก ซึ่งทำให้เราเห็นถึงเกิดการเกิดขึ้นที่สำคัญของยอดขายของธุรกิจใหม่ภายในกลุ่มบริษัทเอไอเอในไตรมาสแรก จากการติดต่อสื่อสารแบบตัวต่อตัวที่ลดลง และเพิ่มการดำเนินมาตรการเชิงรุก ซึ่งรวมถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของแพลตฟอร์มดิจิทัล ในการสนับสนุนการสรรหาตัวแทน การอบรม และกิจกรรมการขาย การสรรหาตัวแทนของเอไอเอ ในประเทศจีนยังคงแข็งแกร่ง สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เอไอเอในแต่ละประเทศได้ทำการช่วยเหลือชุมชน ด้วยผลประโยชน์เพิ่มเติมและขั้นตอนการเรียกร้องสินไหมที่รวดเร็วขึ้น ผมขอแสดงความห่วงใยแก่ครอบครัวและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดในครั้งนี้
“จากความต้องการภายในประเทศจำนวนมากและเทรนด์สถิติประชากรในภูมิภาคเอเชียส่งผลให้ธุรกิจเอไอเอมีโครงสร้างที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตในระยะยาว เรามีศักยภาพในการเติบโตในแต่ละช่องทางการขาย รวมทั้งเราดำเนินธุรกิจที่หลากหลายและมีคุณภาพในตลาด 18 แห่ง รวมถึงตลาดใหม่ล่าสุด ที่เราได้เปิดดำเนินการในประเทศเมียนมาร์ และเรายังคงเตรียมพร้อมสำหรับการขยายทางภูมิศาสตร์ในประเทศจีน ความต้องการในผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของเอไอเอจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น อัตราการทำประกันชีวิตที่ยังต่ำ และความคุ้มครองที่จำกัดของสวัสดิการจากภาครัฐ ผมมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งถึงการเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืนของกลุ่มบริษัทเอไอเอ”
เกี่ยวกับกลุ่มบริษัทเอไอเอ
กลุ่มบริษัทเอไอเอ และบริษัทในเครือ (รวมเรียกว่า “เอไอเอ” หรือ “กลุ่มบริษัทเอไอเอ”) เป็นกลุ่มบริษัทประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีการบริหารจัดการอย่างอิสระ มีบริษัทในเครือและสำนักงานสาขาใน 18 ประเทศทั่วเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งในฮ่องกง ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน (จีน) เวียดนาม นิวซีแลนด์ มาเก๊า บรูไน กัมพูชา และเมียนมาร์ และเป็นผู้ถือหุ้น 99% ในบริษัทในเครือในประเทศศรีลังกา และถือหุ้นร่วมทุน 49% ในประเทศอินเดีย
เอไอเอเริ่มต้นธุรกิจครั้งแรกในเมืองเซี่ยงไฮ้เมื่อศตวรรษที่ผ่านมา ในปี 2462 โดยเป็นผู้นำตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) ในด้านเบี้ยประกันภัยรับจากธุรกิจประกันชีวิต และเป็นผู้นำตลาดโดยส่วนใหญ่ในภูมิภาค โดยมีสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ที่ 284 พันล้านเหรียญสหรัฐ
กลุ่มบริษัทเอไอเอนำเสนอผลิตภัณฑ์ในการออมเงินระยะยาวและความคุ้มครองชีวิตแก่ลูกค้าบุคคลผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย ทั้งการประกันชีวิต การประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ และการวางแผนทางการเงินในวัยเกษียณ นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทเอไอเอยังให้บริการลูกค้าองค์กรผ่านผลิตภัณฑ์สวัสดิการพนักงาน ประกันสินเชื่อ และให้บริการเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพผ่านเครือข่ายตัวแทน พันธมิตรและพนักงานทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเอไอเอมีลูกค้าที่ถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตรายบุคคลที่มีผลบังคับมากกว่า 36 ล้านกรมธรรม์ และเป็นสมาชิกกรมธรรม์ประกันกลุ่มมากกว่า 16 ล้านคน
กลุ่มบริษัทเอไอเอจดทะเบียนในกระดานหุ้นหลักของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ภายใต้รหัสหลักทรัพย์ 1299 สำหรับ American Depositary Receipts (ระดับ 1) มีการซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ (Over-the-Counter) ภายใต้สัญลักษณ์ AAGIY
สรุปสาระสำคัญทางการเงิน
จุดเด่นทางการเงิน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ ยกเว้นกรณีระบุเป็นอย่างอื่น |
สิ้นสุดปีปฏิทิน |
สิ้นสุดปีปฏิทิน |
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน |
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน |
ณ 31 ธันวาคม 2562 |
ณ 31 ธันวาคม 2561 |
อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ |
อัตราแลกเปลี่ยนตามจริง |
|
มูลค่าธุรกิจใหม่ |
|
|
|
|
มูลค่าธุรกิจใหม่ |
4,154 |
3,955 |
6% |
5% |
อัตรากำไรของมูลค่าธุรกิจใหม่ |
62.90% |
60.00% |
3.0 pps |
2.9 pps |
เบี้ยประกันภัยรับปีแรก |
6,585 |
6,510 |
2% |
1% |
มูลค่าธุรกิจในส่วนกำไรจากการดำเนินงาน |
|
|
|
|
มูลค่าธุรกิจในส่วนกำไรจากการดำเนินงาน |
8,685 |
8,278 |
6% |
5% |
ผลตอบแทนจากการดำเนินงานที่เกี่ยวกับมูลค่าธุรกิจในส่วนกำไรจากการดำเนินงาน |
15.9% |
16.3% |
(0.6) pps |
(0.4) pps |
กำไรต่อหุ้นจากการดำเนินงาน (เซนต์สหรัฐฯ) |
72.12 |
68.86 |
6% |
5% |
รายได้จากการดำเนินงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ IFRS |
|
|
|
|
กำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี |
5,741 |
5,298 |
9% |
8% |
กำไรจากการดำเนินงานในส่วนกรรมสิทธิหุ้นที่ถูกจัดสรรให้ผู้ถือหุ้น |
14.40% |
14.50% |
- |
(0.1) pps |
เบี้ยประกันภัยรับรวม |
34,002 |
30,543 |
13% |
11% |
กำไรจากการดำเนินการต่อหุ้น (เซนต์สหรัฐฯ) |
|
|
|
|
- มาตรฐาน |
47.67 |
44.07 |
9% |
8% |
- ถูกลดลง |
47.56 |
43.94 |
9% |
8% |
เงินกองทุนส่วนเกิน |
|
|
|
|
เงินกองทุนส่วนเกิน |
5,501.00 |
4,945 |
13% |
11% |
เงินปันผล |
|
|
|
|
เงินปันผลต่อหุ้น (เซนต์ฮ่องกง) |
|
|
|
|
- สุดท้าย |
93.30 |
84.80 |
n/a |
10% |
- ทั้งหมด |
126.60 |
114.00 |
n/a |
11% |
เงินปันผลพิเศษ |
|
|
|
|
เงินปันผลพิเศษต่อหุ้น (เซนต์ฮ่องกง) |
- |
9.50 |
n/a |
n/a |
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ ยกเว้นกรณีระบุเป็นอย่างอื่น |
ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2562 |
ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2561 |
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ |
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน |
มูลค่าธุรกิจ |
|
|
|
|
มูลค่าหุ้นตามมูลค่าธุรกิจ |
63,905 |
56,203 |
12% |
14% |
มูลค่าธุรกิจ |
61,985 |
54,517 |
12% |
14% |
เงินสดหมุนเวียนส่วนเกิน |
14,917 |
14,751 |
1% |
1% |
อัตรามูลค่าหุ้นตามมูลค่าธุรกิจต่อหุ้น |
528.62 |
465.37 |
12% |
14% |
กรรมสิทธิหุ้นและมูลค่าเงินต้น |
|
|
|
|
กรรมสิทธิหุ้นที่ถูกจัดสรรให้ผู้ถือหุ้น |
42,845 |
36,795 |
15% |
16% |
อัตราส่วนของการดำรงเงินตามพระราชบัญญัติบริษัทประกันชีวิตฮ่องกงของบริษัท เอไอเอ |
362% |
421% |
n/a |
(59) pps |
อัตราส่วนกรรมสิทธิหุ้นที่ถูกจัดสรรให้ผู้ถือหุ้น |
354.41 |
304.67 |
15% |
16% |
มูลค่าธุรกิจใหม่ของแต่ละประเทศ
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยกเว้นกรณีระบุเป็นอย่างอื่น |
ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2562 |
ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2561 |
การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าธุรกิจใหม่ |
|
มูลค่าธุรกิจใหม่ |
อัตรากำไรของมูลค่าธุรกิจใหม่ |
เบี้ยประกันภัยรับปีแรก |
มูลค่าธุรกิจใหม่ |
อัตรากำไรของมูลค่าธุรกิจใหม่ |
เบี้ยประกัน ภัยรับปีแรก |
เปรียบเทียบกับช่วงเดียว กันของปีก่อน |
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน |
|
อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ |
อัตราแลกเปลี่ยนตามจริง |
||||||
ฮ่องกง |
1,621 |
66.1% |
2,393 |
1,712 |
62.0% |
2,697 |
(5)% |
(5)% |
ประเทศไทย |
494 |
67.7% |
729 |
447 |
73.1% |
611 |
6% |
11% |
สิงคโปร์ |
352 |
65.5% |
538 |
357 |
65.4% |
547 |
- |
(1)% |
มาเลเซีย |
258 |
63.1% |
406 |
247 |
63.8% |
382 |
7% |
4% |
จีน |
1,167 |
93.5% |
1,248 |
965 |
90.5% |
1,067 |
27% |
21% |
ตลาดอื่นๆ |
535 |
41.9% |
1,271 |
435 |
35.8% |
1,206 |
27% |
23% |
ผลรวมย่อย |
4,427 |
66.6% |
6,585 |
4,163 |
63.2% |
6,510 |
8% |
6% |
ปรับปรุงเพื่อสะท้อนให้เห็นส่วนที่เพิ่มขึ้นของเงินสำรองและความต้องการเงินทุนของฮ่องกง |
(87) |
n/m |
n/m
|
(56) |
n/m |
n/m |
n/m |
n/m |
มูลค่าหลังหักภาษีของค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้จัดสรร |
(154) |
n/m |
n/m |
(152) |
n/m |
n/m |
n/m |
n/m |
ยอดรวมก่อน คิดส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม |
4,186 (32) |
62.9% n/m |
6,585 n/m |
3,955 - |
60.0% n/m |
6,510 n/m |
7% n/m |
6% n/m |
ยอดรวม |
4,154 |
62.9% |
6,585 |
3,955 |
60.0% |
6,510 |
6% |
5% |
หมายเหตุ
- ตัวเลขทั้งหมดแสดงในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามจริงในรอบปี (AER) เว้นแต่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น การเปลี่ยนแปลงที่แสดงโดยเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนคำนวณโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (CER) เว้นแต่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนคงที่คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เฉลี่ย ณ 31 ธันวาคม 2562 และระยะเวลาปิดปีปฏิทิน 12 เดือน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 นอกเหนือจากรายการที่ปรากฎในงบดุล โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และ วันที่ 31 ธันวาคม 2561
- ส่วนต่างที่แสดงนั้นคำนวณมาจากการเปรียบเทียบปีต่อปี สอดคล้องกับระยะเวลาปิดปีปฏิทิน 12 เดือนสิ้นสุดปีปฏิทิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ยกเว้นกรณีระบุเป็นอย่างอื่น
- มูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) คิดจากสมมติฐานที่เกี่ยวข้อง ณ เวลาขาย
ปี 2562 เบี้ยประกันภัยใหม่รับปีแรก (ANP) และมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) สำหรับตลาดต่างๆ รวมร้อยละ 49 จากผลของการเข้าร่วมทุนในอินเดีย ซึ่งในรายงานเบี้ยประกันภัยใหม่รับปีแรก และมูลค่าธุรกิจใหม่ของปี 2561 ยังไม่ได้มีการรวมผลประกอบการจาก บริษัท ทาทา เอไอเอ ประกันชีวิต (TATA AIA Life) ยอดรวมในรายงานมูลค่าธุรกิจใหม่ของกลุ่มบริษัทของปี 2562 ไม่รวมมูลค่าธุรกิจใหม่ที่มาจากส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม คิดเป็นมูลค่า 32 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าธุรกิจใหม่ ของปี 2561 ที่ยังไม่ได้รวมอยู่ในรายงานก่อนถูกหักยอดร่วมส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม คิดเป็นมูลค่า 27 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปรากฎอยู่ในรายงานผลประกอบการประจำปี 2561
- มูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) รวมธุรกิจการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (ANP) และอัตรากำไรของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB margin) ไม่รวมธุรกิจการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และก่อนหักส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม
- กำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (OPAT) และกำไรจากการดำเนินงานต่อหุ้น ถูกแสดงต่อจากส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ยกเว้นกรณีระบุเป็นอย่างอื่น
- เงินปันผลทั้งหมด จำนวน 1.14 เหรียญฮ่องกงต่อหุ้น ตามระยะเวลาปิดปีปฏิทิน 12 เดือน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ไม่ได้รวมเงินปันผลพิเศษสำหรับเดือนที่เพิ่มขึ้นในระยะรอบบัญชี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวันปิดรอบบัญชี
- ตามในข่าว ตลาดที่ได้รับการรายงาน ฮ่องกง หมายถึงการดำเนินงานในฮ่องกงและมาเก๊า สิงคโปร์หมายถึงการดำเนินงานในประเทศสิงคโปร์และบรูไน และตลาดอื่นๆ หมายถึงการดำเนินงานในประเทศออสเตรเลีย (รวมนิวซีแลนด์) กัมพูชา อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ศรีลังกา ไต้หวัน (จีน) และเวียดนาม
- ผลประกอบการของบริษัท ทาทา เอไอเอ ประกันชีวิต ถูกคำนวณจากระยะเวลาปิดปีปฏิทิน 12 เดือน ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 และระยะเวลาปิดปีปฏิทิน 12 เดือน ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 ในผลประกอบการรวมของเอไอเอ ระยะเวลาปิดปีปฏิทิน 12 เดือน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และระยะเวลาปิดปีปฏิทิน 12 เดือน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ตามลำดับ
ตามผลการรายงานตามมาตรฐานรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS) ของบริษัท ทาทา เอไอเอ ประกันชีวิต ใช้วิธีคำนวณสินทรัพย์ เพื่ออธิบายให้ชัดเจน เบี้ยประกันภัยรับรวมไม่ได้ถูกนับรวมผลการดำเนินงานของบริษัท ทาทา เอไอเอ ประกันชีวิต
- ข้อมูลทางการเงินของกลุ่มบริษัทเอไอเอในรายงานนี้เป็นรายละเอียดเอกสารทางการเงินประจำปีที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว และข้อมูลประกอบมูลค่าหุ้นของบริษัทประกันชีวิตของปีปฏิทิน 12 เดือน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เว้นแต่ระบุเป็นอย่างอื่น