ดีแทคเปิดเผย 7 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งปี 2561 โดยศูนย์วิจัยเทเลนอร์
ดีแทคเปิดเผย 7 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งปี 2561 โดยศูนย์วิจัยเทเลนอร์
20 ธันวาคม 2560 – ถ้าปี 2560 เป็นปีที่รถยนต์ไร้คนขับ, AI, Big Data และสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) เริ่มเป็นที่รู้จัก ปี 2561 ก็คงจะเป็นปีที่เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการในตลาด นี่คือความคิดเห็นของทีมนักวิทยาศาสตร์และนักวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยีจากศูนย์วิจัยเทเลนอร์
นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “สิ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ๆ มักจะมาจากข้อบังคับทางกฎหมาย หรือเมื่อความต้องการของลูกค้ากับเทคโนโลยีมาบรรจบกัน ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่และรถยนต์ เป็นต้น ในปี 2561 เราจะได้เห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน โดยเราได้เลือกเทรนด์เทคโนโลยีที่คาดว่าจะมีความโดดเด่นและสำคัญในปีที่กำลังจะมาถึง”
นอกเหนือจากเทรนด์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เช่น ระบบการจดจำใบหน้า บริการแบบออนดีมานด์ และภาพถ่าย 360 องศาแล้ว ยังมีอะไรที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของโลกเทคโนโลยีในในปี 2561 อีกบ้าง? ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยด้านเทคโนโลยีจากสถาบันวิจัยเทเลนอร์ ได้เลือก 7 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญที่กำลังก้าวเข้าสู่ชีวิตของพวกเรา
1: นิวส์ฟีดบนโซเชียลมีเดีย: ปฏิสัมพันธ์น้อยลง แต่ข่าวสารมากขึ้น
ทุกวันนี้ผู้ใช้งาน Facebook โพสต์เรื่องราวส่วนตัวน้อยลง ทำให้ปริมาณของเนื้อหาที่น่าสนใจลดน้อยลงไป สวนทางกับเนื้อหาของธุรกิจและโฆษณาที่ปรากฎบนหน้าฟีดของผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจำนวนของ “ข่าวสารปลอม” ที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ
บางทีผู้ใช้งานอาจกำลังมองหาแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ๆ ในการติดต่อสื่อสารและอัพเดตข้อมูลส่วนตัวกับเพื่อนและครอบครัว เนื่องจากเริ่มเบื่อหน่ายกับข้อมูลที่ไม่น่าสนใจบน Facebook” อย่างไรก็ตาม Facebook จะยังคงมุ่งพัฒนาสู่การเป็นแพลตฟอร์มสื่อสาร ผ่านทางแอปพลิเคชัน Messenger ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และ Facebook Groups ในการติดต่อสื่อสารระดับกลุ่มย่อย
2: ผู้ใช้งานจะเริ่มอ่านข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานแอปพลิเคชัน
ภายในกลางปี 2561 กลุ่มสหภาพยุโรปจะผ่านร่างกฎหมายให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค (GDPR) ฉบับใหม่ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ลูกค้าหรือผู้ใช้งานบริการดิจิทัลทุกคนมีสิทธิความเป็นเจ้าของของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกสร้างขึ้นในระหว่างการใช้บริการนั้นๆ กฎข้อบังคับดังกล่าวจะช่วยปกป้องข้อมูลของพวกเราทุกคนในสหภาพยุโรป และยังเป็นการคืนสิทธิในการควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วนตัวคืนแก่ผู้บริโภคอีกด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นการเปลี่ยนขั้นตอนของบริษัทผู้ให้บริการในการขออนุญาตนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ามาใช้
ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งานจะถูกร่างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบว่าข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาจะถูกนำไปใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นสิ่งสำคัญ โดยในระยะแรก เราอาจจะเห็นข้อกำหนดและเงื่อนไขแตกต่างกันหลายชุด ซึ่งเราหวังว่าจะได้ฉบับที่ดีที่สุดในไม่ช้า ซึ่งข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งานชุดใหม่ จะถูกใส่รวมเข้าไปในแอปพลิเคชันที่พวกคุณใช้งานอยู่ ซึ่งต่อไปพวกคุณจะต้องเริ่มอ่านมันได้แล้ว!
ยังไม่มีบทสรุปว่าเรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานในทวีปเอเชียอย่างไรบ้าง แต่เราคาดว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะส่งผลมาถึงเราในอีกไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปีนี้ บริษัทชั้นนำของโลก เช่น Google และ Facebook คงจะต้องการประกาศใช้ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานชุดใหม่ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
3: Artificial Intelligence และ Deep Learning บุกตลาด
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ทำให้เราได้พบกับนวัตกรรมที่เปรียบเสมือนมายากล เช่น รถยนต์ไร้คนขับและระบบจดจำใบหน้า แต่ที่ผ่านมา เทคโนโลยีชั้นสูงเหล่านี้เป็นได้แค่เพียงสิ่งที่สร้างความฮือฮาเท่านั้น เราเชื่อว่าในปี 2561 เทคโนโลยี Deep Learning จะถูกนำมาใช้งานจริงในตลาดวงกว้าง ไม่จำกัดอยู่แค่ในกลุ่มบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่อีกต่อไป” เทคโนโลยี Deep Learning สามารถถูกนำมาประยุกต์ในการใช้งานกับหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น สุขภาพ พลังงาน การขนส่งและโทรคมนาคม โดยผู้ที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องทุ่มเท มีความเข้าใจการนำไปใช้งาน มีข้อมูล ทักษะและความรู้ที่จำเป็น ส่วนความล้มเหลวมักจะเกิดจากการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ ความไม่สอดคล้องระหว่างความคาดหวังกับขีดความสามารถของ Deep Learning ระบบการจัดการข้อมูลที่ไม่พร้อม และท้ายที่สุดแล้ว ยังมีคนจำนวนมากคิดว่า Deep Learning เป็นเครื่องมือวิเศษที่สามารถแกะกล่องแล้วใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องพยายามเรียนรู้และเข้าใจแก่นแท้ของมัน
Deep Learning คืออะไร?
Deep Learning หรือการเรียนรู้เชิงลึก เป็นสาขาหนึ่งของ Machine Learning ที่มุ่งเน้นศึกษากระบวนการคิด ผ่านโมเดลขนาดใหญ่และข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งทำให้เราเข้าใกล้กับ AI มากขึ้น Deep Learning อยู่เบื้องหลังการค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ ในระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น การวิเคราะห์และประมวลผลภาพ ข้อความและคำพูด Deep Learning ใช้เครือข่ายใยประสาทเสมือน (Artificial Neural Network) ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากระบบประสาทในสมองของมนุษย์
4: Blockchain – ถึงเวลาก้าวข้ามระบบทางการเงิน?
ในปัจจุบันนี้ ปัญหาของ Blockchain เริ่มทวีความซับซ้อนมากขึ้น โดยในปีนี้เราอาจจะได้เห็นความพยายามในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain นอกเหนือจากระบบการเงิน เป็นที่รู้กันดีว่า Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง Bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ไม่ต้องการตัวกลางในการรับรองการทำธุรกรรม หนึ่งในจุดเด่นของ Blockchain ก็คือ ข้อมูลที่ถูกบันทึกจะไม่สามารถถูกแก้ไขได้ ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือความยากในการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง เพราะการที่จะสร้างโซลูชันที่หลากหลาย ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ได้นั้น นักพัฒนาระบบจำเป็นที่จะต้องสามารถแก้ไข ปรับเปลี่ยน และอัพเกรดเทคโนโลยี รวมถึงการตัดสินใจเชิงวิศวกรรม
คาดการณ์ว่า “อุตสาหกรรม Blockchain จำเป็นที่จะต้องบรรลุข้อตกลงในเรื่องนี้ แต่ประเด็นก็คือ เทคโนโลยี Blockchain ทำให้สามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานหรือสถาบันตัวกลางมาควบคุมดูแล ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกกันว่า ‘Blockchain Governance Paradox’ ซึ่งทำให้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม Blockchain ต้องร่วมกันแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้ เพื่อที่จะใช้ประโยชน์ของ Blockchain ได้อย่างเต็มที่ โดยปี 2561 จะมีการถกในประเด็นนี้อย่างร้อนแรง ซึ่งเราหวังว่าจะนำมาสู่ทางออกให้กับพวกเรา”
Blockchain คืออะไร?
Blockchain ไม่ใช่ Bitcoin – Blockchain คือการรวบรวมรายการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่ง ให้เป็น Block เรียงต่อกันเป็นสาย ซึ่งจะถูกเข้ารหัสเพื่อรักษาความปลอดภัย ในแต่ละ Block จะมี Hash Pointer เป็นตัวเชื่อมโยงไปยัง Block ก่อนหน้า, Timestamp และข้อมูลธุรกรรม Blockchain ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการแก้ไขข้อมูล เทคโนโลยี Blockchain เป็นรากฐานของ Bitcoin โดยทำหน้าที่เป็นสมุดบัญชีสาธารณะสำหรับธุรกรรมทั้งหมด ส่วน Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลสกุลแรกที่ถูกสร้างขึ้น และเป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในด้านอื่นๆ
5: 2561 โลกเสมือนและโลกจริงผสานเข้าด้วยกัน
เรารู้สึกเหมือน Pokémon Go เป็นสิ่งที่ผ่านมานานแล้ว และเทคโนโลยี Augmented Reality ก็พร้อมที่จะก้าวต่อไป แม้ว่าเราคงจะไม่ได้เห็นการเปิดตัวแว่น AR ของ Google ในอนาคตอันใกล้ แต่เราคาดการณ์ว่าจำนวนของแอปพลิเคชัน AR จะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณในปี 2561” โดยในระบบปฏิบัติการล่าสุดของ iPhone มีฟังค์ชันบิวด์อินสนับสนุนการใช้งานโลกเสมือนซึ่งทำงานร่วมกับกล้องของโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการลดความซับซ้อนในการพัฒนาโปรแกรมและเทคโนโลยี AR และเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นักพัฒนาแอปพลิเคชันบนแพลตฟอร์ม iOS หลายแสนราย เราคาดว่าจะมีแอปพลิเคชันนำทางที่ใช้กล้องและการทับซ้อนภาพบนเส้นทางการเดินทางของผู้ใช้งาน รวมไปถึงเกมส์อื่นๆ ที่นอกเหนือไปจาก Pokémon Go พร้อมให้โหลดใช้งานจากแอปสโตร์
6: โอลิมปิกฤดูหนาวและ Virtualization เปิดประตูสู่ 5G
เทคโนโลยีเครือข่าย 5G จะถูกนำมาเปิดตัวใช้งานเป็นครั้งแรกในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่จะถูกจัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ นอกจากการได้เห็นการพัฒนาและการทดสอบคุณสมบัติทางเทคนิคขั้นสูง เรายังหวังที่จะได้เห็นการนำเอาเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้งานจริง ยกตัวอย่างเช่น อาจมีการใช้โดรนที่ควบคุมผ่านสัญญาณ 5G ในการบินติดตามนักสกีกระโดด เพื่อเก็บภาพทิวทัศน์ของเนินเขาจากจุดต่างๆ การเปิดตัวของ 5G จะเป็นการเปิดโอกาสให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ในการนำเอาเทคโนโลยี 5G เข้ามาใช้ รวมถึงการทดสอบประสิทธิภาพของ 5G ซึ่งปี 2561 จะเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์แห่งการเปิดตัวของเทคโนโลยี 5G”
7: ถึงเวลาเลิกพก กระเป๋าเงิน?
ในปี 2561 อุปกรณ์มากมายหลายชนิดจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชำระเงิน เช่น กุญแจรถ ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ สมาร์ทโฟน รถยนต์ที่เชื่อมต่อกัน นาฬิกาสปอร์ต เป็นต้น AI และ IoT เป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบริการอัจฉริยะและบริการจำเพาะต่อบุคคลต่างๆ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าและบริษัทต่างๆ สามารถสร้างโซลูชันช่วยในการตัดสินใจทางการเงิน การบริหารจัดการความเสี่ยง และการลดต้นทุน เป็นต้น โดยในปี 2561 จะมีการเปิดตัวระบบการชำระเงินใหม่ๆ ทั่วโลก ในทวีปเอเชีย เราจะได้เห็นการเติบโตของธนาคารที่ใช้ระบบ IoT มากขึ้น ส่วนในยุโรปจะมีการเปิดตัวบริการชำระเงินแบบ Payment Service Directive 2 (PSD2) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้องค์กรภายนอก เช่น ฟินเทคสตาร์ทอัพ ได้เข้าถึงข้อมูลของลูกค้าธนาคาร นี่คือการปูทางให้เกิด ‘Open Banking’ และนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนช่วยลดปัญหาในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงระบบนิเวศของการชำระเงินของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในปัจจุบัน โดยการรักษาความปลอดภัยจะเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันการเจาะระบบผ่านทางอุปกรณ์ชำระเงินจากบรรดาอาชญากรไซเบอร์
dtac reveals Telenor Research: 7 Tech Trends for 2018
December 20, 2017 – If 2017 was the year when self-driving cars, AI, Big Data and cryptocurrencies appeared on our radar, 2018 will be the year when many of them appear in our markets, says a team of scientists and technology analysts at Telenor Research.
“When big changes happen it is often because regulation, user preference and technology converge – mobile telephony is one example, the car another. 2018 will see key developments in all three dimensions. We have picked the trends that we think are both illuminating and important to stay on top of ahead of the New Year,” says Lars Norling, Chief Executive Officer, Total Access Communication PLC or dtac.
Consumer-trends such as face recognition, on-demand services and 360-photos aside, what seismic shifts in the broader technology landscape might shake things up in 2018? Looking ahead, scientists and technology analysts at Telenor Group’s research arm, Telenor Research, see seven tech trends coming our way:
1: Social media newsfeeds: Less social, more media
Facebook users are posting less and the amount of relevant information on the Facebook newsfeed is dropping, giving way to an increasing amount of professional and paid content – of varying relevance. Users are also likely becoming more critical as awareness rises around “fake news” seeping into their feeds.
Perhaps discouraged by a lack of relevance, users could start turning to other platforms for news, to curate their ‘digital presence’ and get updates on friends and family. All the while, Facebook will develop further into a communication platform – both through the ever-popular Messenger app and in Facebook Groups for micro-coordination.
2: People will actually read online Terms & Conditions
In mid-2018, the EU will update the General Data Protection Regulation (GDPR) in several significant ways. Hear us out before we lose you because this is important: Customers of any digital service – all of us – are becoming the owners of the data that we produce when using these services. The regulation strengthens how that data is protected for all of us in the EU, aiming to give control back to us private users. It also changes how companies ask for your permission to use your data.
Terms & Conditions must be reinvented so that consumers know what data they give away and for what purpose. This reinvention is key and we are going to see a lot of variations around Terms and Conditions in the beginning. We expect that the best solutions will be copied, so watch out. New Terms & Conditions are coming to your favourite app – and you’ll want to read them!
The jury is still out on how this could affect those in Asia, but we anticipate ripple effects in the months and years ahead. Global companies like Google and Facebook might make their improved Terms and Conditions apply globally.
3: Artificial Intelligence and Deep Learning hit the mass market
Artificial Intelligence and especially Deep Learning, the ‘magic’ that is bringing us driverless cars and facial recognition, has been sitting solidly atop the hype curve over the last few years. We believe 2018 will be the year when deep learning moves beyond the hype, and will find new markets outside of the Internet giants. The technology will take on a wide range of industries, including health, energy, transport and telco. Those that succeed will do it through hard work, well understood use cases, ample training data and skills and knowledge to train models. Business failures will come from misunderstood use, mismanaged expectations on deep learning’s capabilities, immature data handling, and not the least – from those that think deep learning is a magical tool that can be bought off the shelf and not grown from within.
What is Deep Learning?
A refresher: Deep Learning is a sub-field of Machine Learning concerned with understanding the world through large models and huge amounts of data, and thus bringing us closer to artificial intelligence. Deep learning is behind revolutionary breakthroughs in automation of a wide range of tasks, including understanding images, text, and speech. Deep Learning uses large artificial neural networks, computing systems inspired by our brains neural networks.
4: Blockchain – can it break out of its own cryptocurrency cradle?
Depends who you ask, but the problems are stacking up, and this year we may see blockchain technology struggle to break out of its cryptocurrency cradle. Blockchain is best known as the technology behind Bitcoin, a digital currency that doesn’t need a central governing body to guarantee transactions. One of the perks of blockchain is that it is, by design, resistant to modification. However, this also brings about the challenge of diversifying its practical applications: to create more varied and usable blockchain-based solutions, developers need to be able to modify it – to sort out bugs, upgrade technology and make widespread engineering decisions.
Industry agreement must be reached about all of this. But the point of blockchain is that it avoids the need for a central governing body to oversee its transactions. This is known as the ‘blockchain governance paradox’. The blockchain industry will need to resolve these challenges to fully deliver on its promise. 2018 will see this debate heat up – and hopefully give us solutions.
What is Blockchain?
First – blockchain is not Bitcoin. A blockchain is a continuously growing list of records, called blocks, which are linked and secured using cryptography. Each block typically contains a hash pointer as a link to a previous block, a timestamp and transaction data. By design, blockchains are inherently resistant to modification of the data. Blockchain technology was first implemented as a core component of Bitcoin, where it serves as the public ledger for all transactions. The invention of the blockchain for Bitcoin made it the first digital currency, and the Bitcoin design has been the inspiration for other applications of blockchain technology.
5: 2018 will augment your reality
Pokémon Go feels like years ago now, and Augmented Reality is ready to move on. Though no mass market relaunch of Google’s AR glasses are on the immediate horizon, we should see a surge in the number of apps with AR in 2018. With its latest version of the iPhone operating system, Apple have built-in support for augmenting whatever the phone’s camera captures with additional information. This means that much of the complexity is removed for programmers and AR suddenly gets to be within reach for hundreds of thousands of iOS app developers. Expect to see navigation apps use the camera and superimpose your route on the image and games beyond Pokémon Go appear in an app store close to you.
6: Winter Olympics and virtualization kick off 5G
Sneak peeks at 5G in action come courtesy of the Winter Olympics in South Korea with increased use of network virtualization, availability of first 5G specifications and spectrum. In addition to seeing the development and testing of advanced technical features, we also expect to see real-life use cases demonstrated. We might see 5G-linked drone equipment follow ski jumpers through the air, views of the slopes from different 5G-connected vantage points for instance. Sneak peeks of 5G technologies like these will provide new knowledge on how 5G can be used to empower vertical industries and give us more answers on 5G performance. 2018 will be the year when history says 5G was launched.
7: You’ll wear your wallet?
In 2018 a growing number of our devices become payment devices - car keys, vending machines, smart phones, connected cars, sports watches etc. Artificial Intelligence and IoT will generate intelligent and personalized context-aware customer services, enabling more tailored solutions to help customers and companies alike make sound financial decisions, manage risk and reduce costs. In 2018 several new device payment systems will be introduced globally. For the Asian Pacific region, we will see growth of IoT banking based services. In Europe, next year sees the introduction of the new Payment Service (PSD2) directive, which enables access to banks’ customer data for external actors such as fintech-startups. “This paves the way for ‘open banking’ and innovation as well as challenges within current business models and the telco payment ecosystem. Security will be key in preventing cyber criminals from hacking the payment-enabled devices.