สถาบันสิ่งทอ ชี้ตัวเลขส่งออกสิ่งทอตลาด (EU) รุ่ง พร้อมแนะผู้ประกอบการ SME ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยผลิตสินค้าตามเทรนด์แฟชั่นเข้าถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ

สถาบันสิ่งทอ ชี้ตัวเลขส่งออกสิ่งทอตลาด (EU) รุ่ง พร้อมแนะผู้ประกอบการ SME ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยผลิตสินค้าตามเทรนด์แฟชั่นเข้าถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ

 

 

 

สถาบันสิ่งทอ ชี้ตัวเลขส่งออกสิ่งทอตลาด (EU) รุ่ง พร้อมแนะผู้ประกอบการ SME ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยผลิตสินค้าตามเทรนด์แฟชั่นเข้าถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ พร้อมโชว์ศักยภาพในการออกงานแสดงสินค้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเป็นที่ยอมรับในตลาดสากล

 


สถาบันสิ่งทอ เปิดโอกาสการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจ พร้อมกลยุทธ์การตลาดให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้าจากนักธุรกิจที่มีประสบการณ์จริงจากยุโรป ในวันอังคารที่ 26 มีนาคม 2562 ณ ชั้น 1 ห้อง ICONLUXE HALL, ICON SAIM อุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์สิ่งทอเครื่องนุ่งห่มของไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขันโดยในปัจจุบันผู้ประกอบการ SMEs นำความรู้นวัตกรรม (Innovation) การออกแบบ (Product Design) และการผลิต (Manufacturing) ผนึกกับจุดแข็งในการมีฐานผลิตอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ที่ครบวงจร


ดร. ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขภาพรวมการส่งออกในปี 2561 การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปตลาดสหภาพยุโรป ( EU 27) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 3 ของไทย ขยายตัว ร้อยละ 6.87 หรือคิดเป็นมูลค่า 945.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเครื่องนุ่งห่มเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ มีมูลค่าส่งออกเท่ากับ 562.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวที่ร้อยละ 8.73 ส่วนสิ่งทอส่งออก คิดเป็นมูลค่า 383.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.26 และหากพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า เสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 47 เป็นการส่งออก เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน ด้าย เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ เป็นต้น ด้านตลาดในกลุ่ม EU ที่ไทยส่งออกไปมากที่สุด คือ ประเทศเบลเยียม รองลงมาคือ ประเทศอิตาลี และ ประเทศเยอรมันนี ตามลำดับ


ดร. ชาญชัย สิริเกษมเลิศ กล่าวว่า สถาบันสิ่งทอ จับมือกับ Messe Frankfurt ผู้จัดงานแสดงสินค้าระดับโลกใน 30 ประเทศผลักดันผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ให้มีโอกาสร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ SMEs ในต่างประเทศและเปิดโอกาสทดลองตลาดและขยายตลาดสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ของไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศนอกจากนั้น ดร. ชาญชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าของประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs จะได้รับออเดอร์การสั่งซื้อจำนวนมากนำไปสู่ผลักดันให้การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดการณ์แนวโน้มการส่งออกอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในปีนี้ (2562) ยังคงมีทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จะมีมูลค่า 7,400 ล้านเหรียญสหรัฐ


โดยในปีนี้ สถาบันฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐพาผู้ประกอบการ SMEs ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่สนใจในการออกงานในต่างประเทศ สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ www.thaitextile.org สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 02-713-5492 ต่อ 229, 220, 391